ส่วนที่ ๑ บทนำ รายงานการติดตามและประเมินผล แผนพัฒนาสามปี

0
264
Spread the love

ส่วนที่ ๑ 
บทนำ รายงานการติดตามและประเมินผล แผนพัฒนาสามปี

                    การจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล เป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้เทศบาลสามารถปฏิบัติงาน  และให้บริการสาธารณะ แก่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เนื่องด้วยการวางแผนเป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน โดยการใช้ทรัพยากร เช่น คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับอนาคตเพื่อให้องค์การบรรลุผลที่ปรารถนา ดังนั้นการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลที่ดีเป็นระบบจะทำให้เทศบาล สามารถแก้ไขปัญหา และตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของประชาชนในท้องถิ่น โดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ได้อย่างเต็มศักยภาพ

การจัดทำแผนพัฒนาสามปีเทศบาลตำบลบางจะเกร็งได้ดำเนินการจัดทำตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องดำเนินการวางแผนพัฒนา โดยจัดทำแผนพัฒนา ซึ่งประกอบด้วยแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา และแผนพัฒนาสามปี การจัดทำแผนสามปี เป็นการแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ โดยมีหลักคิดที่ว่า ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาหนึ่ง จะมีแนวทางการพัฒนาได้มากกว่าหนึ่งแนวทาง และภายใต้แนวทางเดียวกันจะมีโครงการ/กิจกรรมที่จะต้องนำมาดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการในแต่ละยุทธศาสตร์การพัฒนา และนำไปสู่จุดมุ่งหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนตลอดไป  โดยแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๒) ของเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง เป็นแผนพัฒนาที่ได้ทบทวน ปรับปรุง โดยการกำหนดรายละเอียดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย งบประมาณ และจัดลำดับความสำคัญของโครงการใหม่ ที่ได้จัดลำดับความสำคัญและความต้องการเร่งด่วนจากการประชาคมหมู่บ้าน  ที่เป็นความต้องการของประชาชน และการพัฒนาของเทศบาลตำบลบางจะเกร็งเกิดประโยชน์สูงสุด

 ๑.๑ ลักษณะของแผนพัฒนาสามปี

แผนพัฒนาสามปีเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา อันมีลักษณะเป็นการกำหนดรายละเอียด แผนงาน/โครงการพัฒนาที่จัดทำขึ้นสำหรับปีงบประมาณแต่ละปี ซึ่งมีความต่อเนื่องและเป็นแผนก้าวหน้าครอบคลุมระยะเวลาสามปี โดยมีการทบทวนเพื่อปรับปรุงเป็นประจำทุกปี ดังนั้นโครงการที่บรรจุอยู่ในแผนพัฒนาสามปี  โดยเฉพาะในแผนประจำปีแรกของห้วงระยะเวลาสามปีนั้นควรมีสภาพความพร้อมอย่างน้อย ๒ ประการ คือ
๑. มีความแน่นอนของกิจกรรมที่จะดำเนินการ โดยควรมีการประเมินถึงความเป็นไปได้ของโครงการ/กิจกรรมรวมทั้งผลประโยชน์สาธารณะที่จะได้รับจากโครงการ/กิจกรรม
๒. กิจกรรมที่อยู่ในแผนประจำปีแรกของห้วงระยะเวลาสามปีควรมีความพร้อมในเรื่องรูปแบบ และรายละเอียดทางเทคนิคพอสมควรเพื่อให้สามารถกำหนดรายการในแผนพัฒนาที่จะนำไปใช้จัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ต่อไป

แผนพัฒนาสามปีมีลักษณะกว้าง ๆ ดังต่อไปนี้
๑. เป็นเอกสารที่แสดงความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
๒. เป็นเอกสารที่แสดงแนวทางการพัฒนาและวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจนและมีลักษณะเฉพาะเจาะจงที่จะดำเนินการ
๓. เป็นเอกสารที่แสดงโครงการ/กิจกรรมการพัฒนาที่จะดำเนินการเป็นห้วงระยะเวลาสามปี
๔. เป็นเอกสารที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากับงบประมาณรายจ่ายประจำปี

 ๑.๒ วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี
๑. เพื่อแสดงความสัมพันธ์เชื่อมโยง และสอดคล้องกันระหว่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากับงบประมาณรายจ่ายประจำปี
๒. เพื่อแสดงจุดหมายและแนวทางการพัฒนาที่มีความสอดคล้องและสามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี
๓. เพื่อเป็นการเตรียมโครงการพัฒนาต่าง ๆ ให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมที่จะบรรจุในร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และนำไปปฏิบัติได้ทันทีเมื่อได้รับงบประมาณ

 ๑.๓ ขั้นตอนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี
หลังจากที่ได้การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาในแผนยุทธศาสตร์แล้วก็จะต้องถึงขั้นตอนในการแปลงสู่การปฏิบัติโดยการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ซึ่งได้กำหนดขั้นตอนการจัดทำเป็นแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปดำเนินการ ๗ ขั้นตอน ดังนี้

   ขั้นตอนที่   ๑  การเตรียมการจัดทำแผน
๑. หน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดทำแผนพัฒนาควรเข้าพบผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ความสำคัญและความจำเป็นในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีเพื่อให้ผู้บริหารทราบถึงภารกิจที่จะต้องดำเนินการต่อไป และดำเนินการเสนอโครงการจัดทำแผนพัฒนาสามปีห้วงปี พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๒ ผ่านปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ผู้บริหารท้องถิ่นอนุมัติ
๒. หน่วยงานที่รับผิดชอบแจ้งโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบได้แก่คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น หน่วยงานภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาคม

ขั้นตอนที่   ๒  การคัดเลือกยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
๑. ในขั้นตอนนี้คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาจะสรุปยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาจากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพร้อมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ปัญหาความต้องการของท้องถิ่นรวมทั้งสรุปยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัด/อำเภอ และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
๒. คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นจัดการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น ประชาคมท้องถิ่นและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันพิจารณาโดยในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีในครั้งแรกให้เวทีการประชุมร่วมกันดังกล่าวคัดเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนา แนวทางการพัฒนาที่สมควรนำมาใช้เป็นแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาสามปีเพื่อเป็นกรอบในการพิจารณาจัดทำโครงการ/กิจกรรมในแผนพัฒนาสามปีต่อไป
๓. เมื่อได้แนวทางพัฒนาแล้วเวทีการประชุมร่วมพิจารณาว่าจะมีโครงการ/กิจกรรมอะไรบ้างที่จะต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแนวทางการพัฒนาที่คัดเลือกมาใช้เป็นกรอบในการพัฒนา
๔. โครงการ/กิจกรรมที่พิจารณากำหนดอาจมีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นในขั้นตอนนี้จะต้องมีการดำเนินการ ดังนี้

(๑) พิจารณาความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างยุทธศาสตร์หรือระหว่างแนวทางการพัฒนา เช่นใน ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ได้กำหนด แนวทางการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยเวทีการประชุมร่วมได้กำหนด “โครงการพัฒนาด้านการตลาดฯ” ซึ่งอาจจะมีความสัมพันธ์กับ ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ซึ่งได้กำหนด แนวทางการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และได้กำหนด “โครงการปรับปรุง สถานที่ประวัติศาสตร์ปราสาทเก่า” หากพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าโครงการทั้งสองที่มาจากยุทธศาสตร์การพัฒนาคนละยุทธศาสตร์กันแต่มีความเชื่อมโยงและสนับสนุนกันได้ในเชิงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน โดยการนำผลิตภัณฑ์มาขายให้นักท่องเที่ยวซึ่งหากกำหนด ในแผนพัฒนาสามปีแล้วจะต้องกำหนดห้วงเวลาการดำเนินงานที่สอดรับกัน
(๒) ให้พิจารณานำโครงการ/กิจกรรมจากแผนชุมชนที่เกินความสามารถในการดำเนินการของชุมชนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามาประกอบการจัดทำแผนพัฒนาสามปี
(๓) มีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ/กิจกรรมเพื่อที่จะบรรจุลงในแผนพัฒนาสามปีได้อย่างเหมาะสมและนอกจากนั้นยังเป็นการจัดลำดับโครงการไว้เพื่อทำแผนพัฒนาสามปีในช่วงถัดไปด้วย
(๔) เนื่องจากกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการมีความหลากหลาย ดังนั้น ในขั้นของการพิจารณากำหนดกิจกรรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
– งบประมาณรายรับ รายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
– ทรัพยากรการบริหารอื่น ๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
– ภาคีการพัฒนาที่สามารถเข้ามาร่วมดำเนินการหรือมีภารกิจรับผิดชอบการดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ
– โครงการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการเอง
– โครงการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอุดหนุนให้หน่วยงานอื่นดำเนินการ
– โครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นทั้งราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาครัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นและภาคเอกชน

ขั้นตอนที่   ๓  การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
๑. การเก็บรวบรวมข้อมูล
คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นดำเนินการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่อการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ซึ่งนอกจากจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทั่วไปแล้วยังจะต้องวิเคราะห์ว่ายุทธศาสตร์การพัฒนา แนวทางการพัฒนาที่เลือก ต้องการข้อมูลประเภทใดเป็นพิเศษ ต้องการข้อมูลของห้วงเวลาใดและจะเก็บข้อมูลจากแหล่งใดเพื่อเป็นข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาโครงการ/กิจกรรมได้อย่างถูกต้องโดยในการเก็บรวบรวมข้อมูลจะต้องเก็บข้อมูลทั้งข้อมูลภายในองค์กรและข้อมูลภายนอกเพื่อนำมาวิเคราะห์ ข้อมูลที่จำเป็นต่อการจัดทำแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.๒๕๕๙ – ๒๕๖๑) มีดังนี้
(1) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง (พ.ศ.๒๕๕๙ – ๒๕๖๓)
(2) เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.๒๕๕๙
(3) บัญชีรายรับ – รายจ่ายจริงของปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘
(4) บัญชีรายรับ – รายจ่ายจริง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๙
(5) นโยบายของคณะผู้บริหารเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง

๒. การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ๔ กิจกรรมหลัก คือ
(๑) การประเมินผลการพัฒนาที่ผ่านมา
คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสรุปผลการพัฒนาที่ผ่านมาและนำเสนอที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น ประชาคมท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินผลการพัฒนาท้องถิ่นในรอบปีที่ผ่านมาโดยประเมินทั้งในเชิงปริมาณและในเชิงคุณภาพ
(๒) การคัดเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนา
หลังจากการประเมินผลการพัฒนาในรอบปีที่ผ่านมาแล้วให้ที่ประชุมตาม ร่วมกันคัดเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนารวมทั้งสอดคล้องกับปัญหาความต้องการของประชาคม/ชุมชนในห้วงระยะเวลาสามปี
(๓) การจัดลำดับความสำคัญของแนวทางการพัฒนา
ภายใต้ยุทธศาสตร์จะมีแนวทางการพัฒนาที่หลากหลายซึ่งล้วนแล้วแต่มีความจำเป็นในการดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์การพัฒนาทั้งสิ้นแต่มีความสำคัญความจำเป็นเร่งด่วนมากน้อยแตกต่างกันที่ประชุมตามข้อ ๑ จะต้องจัดเรียงลำดับความสำคัญของแนวทางการพัฒนา การจัดลำดับความสำคัญดังกล่าว
(๔) การตัดสินใจเลือกแนวทางการพัฒนาในห้วงสามปี
หลังจากจัดลำดับแนวทางการพัฒนาแล้วที่ประชุมจะตัดสินใจว่าจะนำแนวทางการพัฒนาเหล่านั้นมาดำเนินการแต่ในการตัดสินใจเลือกนั้นควรจะได้วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติเพราะในการจัดลำดับความสำคัญอาจใช้การตัดสินใจของแต่ละบุคคลเป็นหลักดังนั้นเพื่อทบทวนและยืนยันการจัดลำดับว่ามีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติจริงหรือไม่ จึงควรนำแนวทางการพัฒนามาทำการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคอีกครั้ง

ขั้นตอนที่   ๔  การกำหนดวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนา
๑. หลังจากได้แนวทางการพัฒนาในช่วงสามปีแล้วให้ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาคัดเลือกวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์การพัฒนามาจัดทำเป็นวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนา โดยพิจารณาคัดเลือกวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์การพัฒนาจากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปีโดยนำวัตถุประสงค์ดังกล่าวมาจัดทำเป็นวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี

๒. ในขั้นตอนนี้ที่ประชุมจะร่วมกันพิจารณากำหนดโครงการ/กิจกรรมการพัฒนาที่จะต้องดำเนินการตามแนวทางที่คัดเลือกและโดยที่กิจกรรมที่จะดำเนินการย่อมมีความหลากหลายซึ่งที่ประชุมจะต้องพิจารณาในประเด็นดังต่อไปนี้ด้วยคือ
(๑) พิจารณากิจกรรมที่ต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนาที่กำหนดอย่างรอบครอบ
(๒) พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการ/กิจกรรม ควรพิจารณาทั้งภายใต้แนวทางเดียวกัน และระหว่างแนวทางการพัฒนา
(๓) พิจารณาถึงความเชื่อมโยงของกิจกรรมทั้งในด้านกระบวนการดำเนินงานและในด้านของผลการดำเนินงานเพื่อบรรจุกิจกรรมลงในปีต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
(๔) พิจารณาคัดเลือกโครงการ/กิจกรรม
ก.จากความจำเป็นเร่งด่วน
ข.ขีดความสามารถทางทรัพยากรการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ค.ความเชื่อมโยงของกิจกรรมและระยะเวลาที่จะดำเนินการ

ขั้นตอนที่   ๕  การจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมการพัฒนา
คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นพิจารณาคัดเลือกโครงการที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี มาจัดทำรายละเอียดโครงการในด้านเป้าหมาย ผลผลิต ผลลัพธ์ งบประมาณ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบและตัวชี้วัดความสำเร็จ โดยเน้นการศึกษารายละเอียดของกิจกรรมที่จะดำเนินการในปีแรกของแผนพัฒนาสามปีเพื่อให้สามารถนำไปจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ต่อไป

ขั้นตอนที่   ๖  การจัดทำร่างแผนพัฒนาสามปี
๑. คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น จัดทำร่างแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑) โดยมีเค้าโครงประกอบด้วย ๔ ส่วน ดังนี้
ส่วนที่      ๑            บทนำ
ส่วนที่      ๒            สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นในปีที่ผ่านมา
ส่วนที่      ๓            การนำแผนพัฒนาสามปีไปสู่การปฏิบัติ
ส่วนที่      ๔            แนวทางการติดตามประเมินผล
๒. คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น จัดเวทีประชาคม ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น ประชาคมท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอร่างแผนพัฒนาสามปีและรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ แล้วนำไปปรับปรุงแผนพัฒนาสามปีให้สมบูรณ์ต่อไป
๓. คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นนำร่างแผนพัฒนาสามปีที่ปรับปรุงแล้วเสนอคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อพิจารณา

ขั้นตอนที่   ๗  การอนุมัติและประกาศใช้แผนพัฒนาสามปี
๑. คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นเสนอร่างแผนพัฒนาสามปี(พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑) ที่ผ่านการพิจารณาให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น หรือเสนอคณะอนุกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอในกรณีที่มีการมอบอำนาจ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบโดย              มีขบวนการเช่นเดียวกับขั้นตอนที่ ๙ ของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
๒. ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติร่างแผนพัฒนาสามปี ประกาศใช้แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑) และนำไปปฏิบัติ รวมทั้งแจ้งสภาท้องถิ่น คณะกรรมการพัฒนาจังหวัด คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาพัฒนาท้องถิ่น คณะอนุกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประกาศให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบโดยทั่วกัน

ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างขั้นตอน  กิจกรรมและองค์กรหรือหน่วยดำเนินงาน

 

ขั้นตอน กิจกรรม องค์กร/หน่วยดำเนินงาน
1. การเตรียมการวางแผน –  เขียนโครงการขออนุมัติการจัดทำแผนฯ
–  ประชุมชี้แจงคณะผู้บริหารและส่วนราชการ
สำนักปลัดเทศบาล
งานวิเคราะห์นโยบายและแผน
2. การคัดเลือกยุทธศาสตร์ –  สรุปยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาจากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระยะ 5 ปี  (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๓)  ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ปัญหาความต้องการ
–  คัดเลือกยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
–  กำหนดโครงการ/กิจกรรม
– คณะกรรมการสนับสนุน            การจัดทำแผนเทศบาลตำบล
– คณะกรรมการพัฒนาเทศบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล –  การประเมินผลการพัฒนาที่ผ่านมา
–  การคัดเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนา
–  การจัดลำดับความสำคัญของแนวทาง                  การพัฒนา
–  การตัดสินใจเลือกแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี (พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๒)
คณะกรรมการสนับสนุน             การจัดทำแผนเทศบาลตำบล
4.  การกำหนดวัตถุประสงค์
และการวิเคราะห์ข้อมูล
–  พิจารณาคัดเลือกวัตถุประสงค์จากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามาจัดทำเป็นวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี
–  พิจารณา กำหนดโครงการ/กิจกรรมการพัฒนา
คณะกรรมการสนับสนุน             การจัดทำแผนเทศบาลตำบล
5. การจัดทำรายละเอียด
โครงการ/กิจกรรมพัฒนา
–  คัดเลือกโครงการ/กิจกรรมตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในช่วงเวลาสามปี นำมาจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรม ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๒ คณะกรรมการสนับสนุน            การจัดทำแผนเทศบาลตำบล
6. การจัดทำร่างแผนพัฒนาสามปี      (พ.ศ.2559 – 2561) – จัดทำร่างแผนพัฒนาสามปี(พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖
– การจัดทำเวทีประชาคม เพื่อเสนอร่างแผนพัฒนาสามปี และรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและนำไปปรับปรุง เป็นแผนพัฒนาสามปีให้สมบูรณ์ต่อไป
คณะกรรมการสนับสนุน              การจัดทำแผนเทศบาลตำบล
7. การอนุมัติและประกาศใช้
แผนพัฒนาสามปี
(พ.ศ. 2559 – 2561)
–  เสนอร่างแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๒) ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาเทศบาล ต่อนายกเทศมนตรีเพื่อพิจารณา ให้ความเห็นชอบ
–  นายกเทศมนตรีพิจารณาอนุมัติร่างแผนพัฒนาสามปี ลงนามประกาศใช้ และนำไปปฏิบัติแจ้งสภาเทศบาลตำบล คณะกรรมการพัฒนาเทศบาลตำบล คณะกรรมการพัฒนาจังหวัด/อำเภอ คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประกาศ
ให้ประชาชนได้รับทราบโดยทั่วกัน
คณะกรรมการพัฒนาเทศบาล

 

นายกเทศมนตรี

 

 

              ๑.๔  ประโยชน์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี
การจัดทำแผนพัฒนาสามปีถือว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เทศบาลตำบลสามารถดำเนินการพัฒนาได้บรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดทั้งด้านระยะเวลา บุคลากร วัสดุอุปกรณ์และงบประมาณ เพราะได้มีการวางแนวทางการใช้ทรัพยากรทุก ๆ ด้านไว้ก่อนแล้ว โดยเฉพาะ ในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีได้เน้นในเรื่องการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นหลักการพัฒนาเพื่อนำมาคัดเลือกและจัดทำรายละเอียดแผนงาน/โครงการให้ตอบสนองต่อปัญหา ความต้องการของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้แผนพัฒนาสามปียังเป็นมาตรการหนึ่งที่แสดงถึงความเชื่อมโยงกันกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของเทศบาลตำบลอีกด้วย