ส่วนที่ ๔ แนวทางการติดตามประเมินผล

0
153
Spread the love

๔.๑ กรอบและแนวทางในการติดตามและประเมินผล
กรอบและแนวทางในการติดตามและประเมินผลของเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง สอดคล้องกับระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 ข้อ 29 กำหนดให้คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดแนวทาง วิธีการในการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา
ดำเนินการติดตามและประเมินผลแผน เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วรายงานผลและเสนอความเห็นซึ่งได้จากการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาต่อ
ผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอต่อสภาท้องถิ่น คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น และประกาศผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา ให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบโดยทั่วกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ภายในเดือนธันวาคมของทุกปี ทั้งนี้ให้ปิดประกาศโดยเปิดเผยไม่น้อยกว่าสามสิบวัน

การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นเป็นการติดตามและประเมินผลความสอดคล้องและความสำเร็จของแผนพัฒนาสามปี
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการตามแผนดำเนินงาน ว่าเป็นไป
ตามเป้าหมายการพัฒนา ที่สอดคล้องกับพันธกิจ ซึ่งสามารถนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดหรือไม่ และโครงการพัฒนา
นั้นประสบความสำเร็จตามกรอบการประเมินผลระดับใด

การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นร่วมประชุมเพื่อกำหนดกรอบแนวทาง และวิธีการในการติดตามและประเมินผล แผนพัฒนาสามปีและประเมินผลโครงการพัฒนาตามแผนพัฒนาสามปี ดังนี้

การกำหนดกรอบ แนวทาง และวิธีการ ในการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาอาจกำหนดแนวทางในการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี ดังนี้
ความสอดคล้อง (Relevance) ของยุทธศาสตร์ แผน และกลยุทธ์ที่กำหนด
ความเพียงพอ (Adequacy) ของทรัพยากรเพื่อการดำเนินกิจกรรมของหน่วยงาน
ความก้าวหน้า (Progress) กิจกรรมที่กำหนดไว้ตามแผน โดยมีการติดตามผล   (Monitoring)
ประสิทธิภาพ (Efficiency) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับทรัพยากรที่ใช้โดยมีการประเมินประสิทธิภาพ (Efficiency Evaluation)
ประสิทธิผล (Effectiveness) เป็นการศึกษาถึงผลที่ได้รับ (Effect)
ผลลัพธ์และผลผลิต (Outcome and Output) เป็นการประเมินผลประโยชน์ที่เกิดจากการทำกิจกรรมที่มีต่อกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับบริการ และการประเมินผลผลิต              ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม
การประเมินผลกระทบเป็นการศึกษาผลที่ได้รับรวบยอด (Overall Effect)
คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น อาจนำแนวทางทั้งหมดที่กำหนด มาใช้หรืออาจเลือกใช้ในบางแนวทางในการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปีก็ได้ โดยอย่างน้อยต้องสามารถประเมินความสอดคล้อง และสามารถวัดความสำเร็จหรือความก้าวหน้าของแผนพัฒนาสามปีได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการฯจะพิจารณา

การกำหนดกรอบแนวทางและวิธีการในการติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนา ตามแผนพัฒนาสามปี อาจกำหนดแนวทางดังนี้

การประเมินผลกระบวนการ (Process Evaluation) หรือ การประเมินประสิทธิภาพ (Efficiency Evaluation)
การประเมินผลโครงการ (Project Evaluation) หรือการประเมินประสิทธิผล (Effectiveness  Evaluation)
การประเมินผลกระทบ ( Impact Evaluation)

ขั้นตอนที่ 2 คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นดำเนินการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี ตามกรอบแนวทางและวิธีการที่กำหนด โดยสามารถติดตาม
และประเมนผล    ได้ตลอดระยะเวลาของแผนพัฒนาสามปี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ขั้นตอนที่ 3 คณะกรรมการติดตามและประเมินผลผลแผนพัฒนาท้องถิ่นดำเนินการติดตามและประเมินโครงการพัฒนาตามแผนพัฒนาสามปีตามกรอบแนวทางและวิธีการที่กำหนด
โดยสามารถติดตามและประเมินผลได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงการพัฒนาตามแผนดำเนินงานจนสิ้นสุดโครงการฯ

ขั้นตอนที่ 4 รายงานผลและเสนอความเห็นซึ่งได้จาการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปีและผลการติดตามและประเมินโครงการพัฒนาตามแผนพัฒนาสามปีต่อผู้บริหาร
ท้องถิ่น เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอต่อสภาท้องถิ่น คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น  และคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัด พร้อมประกาศผลการติดตามและ
ประเมินผลให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบโดยทั่วกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ขั้นตอนที่ 5 คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นอาจให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะในรายงานการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปีและโครงการพัฒนา
ต่อผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอต่อสภาท้องถิ่น คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นและคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัดได้

๔.๒ ระเบียบ วิธีในการติดตามและประเมินผล   มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ
๔.๒.๑ ผู้เข้าร่วมติดตามและประเมินผล ได้แก่ คณะกรรมการติดตามและประเมินผล ผู้รับผิดชอบการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับ
การแต่งตั้ง ผู้มีส่วนได้เสียในท้องถิ่นนั้นๆ

๔.๒.๒ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการติดตามประเมินผล เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลยุทธศาสตร์            ที่ได้กำหนดขึ้นซึ่งมีผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น ข้อมูล
ดังกล่าวอาจเป็นได้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ ความจำเป็นสำคัญในการนำมาหาค่าผลของประโยชน์ที่ได้รับจากแผนพัฒนาสามปี อาจเป็นแบบสอบถาม
แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบวัดความรู้ แบบบันทึกข้อมูล แบบวัดความรู้ แบบบันทึกการสังเกต แบบตรวจสอบ บันทึกรายการ เพื่อนำไปวิเคราะห์ทางสถิติ หรือการหาผล
สัมฤทธิ์โดยรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นนั้นๆ
๔.๒.๓ กรรมวิธี อันได้แก่ วิธีการที่จะดำเนินการติดตามและประเมินผล จะต้องศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นการตรวจดูเอกสาร
หลักฐานต่างๆ ที่เป็นทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาท้องถิ่น เอกสารการเบิกจ่ายงบประมาณ เช่น ถนน แม่น้ำ ลำคลอง ครุภัณฑ์ที่ดิน
และสิ่งก่อสร้างต่างๆ กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เพื่อตรวจดูว่าดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และได้รับผลตามที่ตั้งไว้หรือไม่ ทรัพย์สินต่างๆ มีอยู่จริงหรือไม่ สภาพของ
ทรัพย์สินนั้นเป็นอย่างไร เป็นต้น ซึ่งการกำหนดวิธีการเช่นนี้ต้องมีการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล(Data analysis) ด้วย

การนำแผนพัฒนาสามปีไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล โดยมีการกำหนดองค์กร  ที่รับผิดชอบ วิธีการติดตาม และห้วงเวลาในการติดตามและประเมินผล ดังนี้
องค์กรรับผิดชอบในการติดตาม และประเมินผล ซึ่งตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 ข้อ 28 กำหนดให้
ผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย

(1) สมาชิกสภาท้องถิ่นที่สภาท้องถิ่นคัดเลือก                                     จำนวนสามคน
(2) ผู้แทนประชาคมท้องถิ่นที่ประชาคมท้องถิ่นคัดเลือก                      จำนวนสองคน
(3) ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือก                   จำนวนสองคน
(4) หัวหน้าส่วนการบริหารที่คัดเลือกกันเอง                                                      จำนวนสองคน
(5) ผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือก                                                        จำนวนสองคน

 

โดยให้คณะกรรมการเลือกกรรมการหนึ่งคนทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการ และกรรมการอีกหนึ่งคนทำหน้าที่เลขานุการของคณะกรรมการ กรรมการข้อ 28 ให้มีวาระอยู่ในตำแหน่ง
คราวละสองปี  และอาจได้รับการคัดเลือกอีกได้ โดยมีอำนาจหน้าที่ ตามระเบียบข้อ 29 ดังนี้
(1) กำหนดแนวทาง วิธีการในการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา
(2) ดำเนินการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา
(3) รายงานผลและเสนอความเห็นซึ่งได้จากการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา ต่อผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอต่อสภาท้องถิ่น คณะกรรมการพัฒนา
ท้องถิ่น และประกาศผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบโดยทั่วกัน อย่างน้อย ปีละหนึ่งครั้ง ภายในเดือนธันวาคมของทุกปี ทั้งนี้ให้ปิดประกาศ
โดยเปิดเผยไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
(4) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อช่วยปฏิบัติงานตามที่เห็นสมควร
ทั้งนี้ ยังได้กำหนดไว้ในระเบียบฯ

ข้อ 30 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกดำเนินการหรือร่วมดำเนินการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาได้ โดยมีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้
(1) คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นจัดทำร่างข้อกำหนด ขอบข่าย และรายละเอียดของงานที่จะมอบหมายให้หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกดำเนินการ เพื่อ
เสนอผู้บริหารท้องถิ่น
(2) ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติข้อกำหนด ขอบข่ายและรายละเอียดของงาน
(3) หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกดำเนินการหรือร่วมดำเนินการติดตามและประเมินผล
(4)ให้หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกที่ดำเนินการหรือร่วมดำเนินการติดตามและประเมินผล รายงานผลการดำเนินการซึ่งได้จากการติดตาม และประเมินผลต่อคณะกรรมการติดตาม
และประเมินผล     เพื่อประเมินผลการรายงานผลเสนอความเห็นผู้บริหารท้องถิ่น
(5) ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอผลการติดตามและประเมินผลต่อสภาท้องถิ่น คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น และประกาศผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาให้ประชาชนในท้องถิ่น
ทราบ โดยทั่วกัน และ

ข้อ 31 เพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมและเพื่อให้การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทยอาจจัดให้มีการ
ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ตามความเหมาะสม

เครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผล
เป็นการแสดงถึงวิธีการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาและโครงการพัฒนาตามแผนพัฒนา โดยการกำหนดรูปแบบที่จะใช้ในการติดตามและประเมินผลเพื่อ
ตรวจสอบว่า การดำเนินกิจกรรมตามโครงการอยู่ภายใต้ระยะเวลาและงบประมาณที่กำหนดไว้หรือไม่ และผลของการดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้หรือไม่ การ
ติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง ใช้แบบรายงาน 3 แบบ  ตามรูปแบบที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนดเป็นแนวทางไว้  คือ
1. แบบประเมินผลแผนพัฒนาใช้แบบรายงาน
แบบที่ 1  การประเมินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. แบบติดตามแผนพัฒนาใช้แบบรายงาน
แบบที่ 2  แบบติดตามและประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. แบบประเมินผลแผนพัฒนาใช้แบบรายงาน  3  แบบ  คือ
3.1  แบบประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์
3.2  แบบประเมินความพอใจต่อผลการดำเนินงานขององค์กร อปท.ในภาพรวม
3.3  แบบประเมินความพอใจต่อผลการดำเนินงานขององค์กร อปท.ในแต่ละยุทธศาสตร์
ตารางที่ 1 การกำหนดห้วงเวลาในการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา

ระบบติดตาม

ระบบประเมินผล

ผู้ประเมิน

รายงาน

ระยะเวลา

ผู้ประเมิน

รายงาน

ระยะเวลา

เทศบาล

1. ใช้แบบรายงานที่  2  แบบติดตามผลการดำเนินงานของเทศบาล รายไตรมาส (3 เดือน)
2. ส่งรายงานให้คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา

ทุก
3 เดือน

เทศบาล

1. ใช้แบบรายงานที่ 1              การกำกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของเทศบาล
2. ส่งรายงานให้คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา

เมื่อเทศบาลประกาศใช้แผน

1. ใช้แบบรายงานที่ 3/1  แบบประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์
2. ใช้แบบรายงานที่ 3/2  แบบประเมินความพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาล            ในภาพรวม
3. ใช้แบบรายงานที่ 3/3  แบบประเมินความพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาล            ในแต่ละยุทธศาสตร์
4. ส่งรายงานให้คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา

ทุก 1 ปี
(ภายในเดือน ธันวาคม)

คณะติดตามฯ

1. ตรวจสอบรายงาน
2. วิเคราะห์รายงาน                ตามแบบ
3. รายงานผลให้ผู้บริหารทราบ

15 วันนับตั้งแต่รับรายงาน

คณะติดตามฯ

1. ตรวจสอบรายงาน
2. วิเคราะห์รายงานตามแบบ
3. เสนอผู้บริหารทราบ

15 วันนับตั้งแต่รับรายงาน

ผู้บริหาร

1. เสนอสภาเพื่อทราบ

2. ประกาศให้ประชาชนทราบ

1. ภายในเดือนธันวาคม
2. ประกาศไม่น้อยกว่า30วัน

 

 

แบบที่  1 เป็นแบบประเมินตนเองในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครอง
คำชี้แจง :  แบบที่  1 เป็นแบบประเมินตนเองในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  โดยจะทำการประเมินและรายงานทุก ๆ ครั้ง หลังจากที่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นได้ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์แล้ว
ชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   เทศบาลตำบลบางจะเกร็ง  อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

ประเด็นการประเมิน มีการดำเนินงาน ไม่มี
การดำเนินงาน
ส่วนที่  1  คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
1.  มีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
2.  มีการจัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
3.  มีการจัดประชุมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
4.  มีการจัดตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
5.  มีการจัดประชุมคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
6.  มีคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นและประชาคมท้องถิ่นพิจารณาร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
ส่วนที่  2  การจัดทำแผนการพัฒนาท้องถิ่น
7.  มีการรวบรวมข้อมูลและปัญหาสำคัญของท้องถิ่นมาจัดทำฐานข้อมูล
8.  มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผน
9. มีการวิเคราะห์ศักยภาพของท้องถิ่น (SWOT) เพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาท้องถิ่น
10. มีการกำหนดวิสัยทัศน์และภารกิจหลักการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับศักยภาพของท้องถิ่น
11. มีการกำหนดวิสัยทัศน์และภารกิจหลักการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด
12.  มีการกำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
13.  มีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาท้องถิ่น
14.  มีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนา
15.  มีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัด
16.  มีการอนุมัติและประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
17.  มีการจัดทำบัญชีกลุ่มโครงการในแผนยุทธศาสตร์
18.  มีการกำหนดรูปแบบการติดตามประเมินผลแผนยุทธศาสตร์
19.  มีการทบทวนแผนยุทธศาสตร์หรือไม่

การวัด และการนำเสนอผล
ความถี่ในการวัด       :  หลังจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนเสร็จและประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
เกณฑ์การพิจารณา  :  พิจารณาจาก มี/ ไม่มี การดำเนินการนั้น

แบบที่ 2 แบบติดตามผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายไตรมาส
คำชี้แจง : แบบที่ 2 เป็นแบบประเมินตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้แผนพัฒนา 3 ปี
โดยมีกำหนดระยะเวลาในการติดตามและรายงานผลการดำเนินงานทุก ๆ 3 เดือน เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดการดำเนินงานในเดือนตุลาคม – ธันวาคม หรือไตรมาสที่ 1
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
1.  ชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลตำบลบางจะเกร็ง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
2.  รายงานผลการดำเนินงานไตรมาสที่
(    )  ไตรมาสที่  1  (ตุลาคม – ธันวาคม)                             (    )  ไตรมาสที่  2  (มกราคม – มีนาคม)
(    )  ไตรมาสที่  3  (เมษายน – มิถุนายน)                           (    )  ไตรมาสที่  4  (กรกฎาคม – กันยายน)

ส่วนที่  2  ผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนา  3  ปี
3.  จำนวนโครงการและงบประมาณตามแผนพัฒนา  3  ปี

ยุทธศาสตร์ ปีที่  1 ……… ปีที่  2 ……… ปีที่  3 ……… รวม
จำนวนโครง
การ
งบ
ประมาณ
จำนวนโครง
การ
งบ
ประมาณ
จำนวนโครง
การ
งบ
ประมาณ
จำนวนโครง
การ
งบ
ประมาณ
1. xx xx xx xx xx xx xx xxxx
2.
3.
ฯลฯ….
รวม

เกณฑ์ในการพิจารณา :  พิจารณาว่าแผนยุทธศาสตร์นั้นๆ มีการกระจายของโครงการและงบประมาณใน              แต่ละยุทธศาสตร์อย่างไร กระจุกตัวของโครงการและงบประมาณอยู่
เฉพาะยุทธศาสตร์ใดยุทธศาสตร์หนึ่งหรือไม่ อปท. ให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ใด

4. จำนวนโครงการและงบประมาณตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด

ยุทธศาสตร์ ปีที่  1…… ปีที่  2…… ปีที่  3….. รวม
จำนวนโครงการ งบ
ประมาณ
จำนวนโครงการ งบ
ประมาณ
จำนวนโครงการ งบ
ประมาณ
จำนวนโครงการ งบ
ประมาณ
1. xx xxx xx xxx xx xxx xx xxxx
2.
3.
ฯลฯ….
รวม

เกณฑ์ในการพิจารณา :  พิจารณาว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีโครงการและงบประมาณที่สอดคล้อง                     กับยุทธศาสตร์ของจังหวัดมากน้อยเพียงใด ถ้ามี
โครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดมาก ก็แสดงให้เห็นว่า แผนยุทธศาสตร์นั้นเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่ดี

5.  ผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาปี ………..

ยุทธศาสตร์ จำนวนโครงการ
ที่เสร็จ
จำนวนโครงการทีอยู่ระหว่างการดำเนินการ จำนวนโครงการที่ยังไม่ได้ดำเนินการ จำนวนโครงการที่มีการยกเลิก จำนวนโครงการที่มีการเพิ่มเติม จำนวน
โครงการทั้งหมด
จำ
นวน
ร้อยละ จำ
นวน
ร้อย
ละ
จำ
นวน
ร้อยละ จำ
นวน
ร้อย
ละ
จำ
นวน
ร้อยละ จำ
นวน
ร้อยละ
1. xx xx xx xx xx xx xx xx xx xx xx xx
2.
3.
ฯลฯ….
รวม

เกณฑ์ในการพิจารณา :  1.ทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลในแบบรายงานในไตรมาสก่อนหน้านี้ว่ามีโครงการ           ที่เสร็จเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใดเพื่อแสด
งให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการตามแผนฯ
2. หากมีร้อยละของโครงการที่ดำเนินงานเสร็จแล้วมากเท่าใด ก็จะแสดงให้เห็น                   ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

6. การเบิกจ่ายงบประมาณ………….

ยุทธศาสตร์ งบปกติ เงินสะสม รวม
จำนวนเงิน ร้อยละ จำนวนเงิน ร้อยละ จำนวนเงิน ร้อยละ
1 xxx xx xxx xx xxx xx
2.
3.
4.
รวม

เกณฑ์ในการพิจารณา :  นำเข้าข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ได้ระบุไว้ในแผน เพื่อเป็นข้อมูลที่ แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ทางด้านการเงินขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานตามแผนนั้น

ส่วนที่ 3  ผลการดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
๗.  โครงการที่ได้รับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจประจำปี  …………

โครงการ ผลการดำเนินงาน งบประมาณ
ดำเนินการเสร็จแล้ว อยู่ในระหว่างดำเนินการ ยังไม่ได้ดำเนินการ งบประมาณที่ได้รับ งบประมาณที่เบิกจ่ายไป
1. xxx xxx xx xx xx
2.
3.
ฯลฯ….
รวม

เกณฑ์ในการพิจารณา :  พิจารณาว่าสถานการณ์ในการดำเนินงานของโครงการที่ได้รับเงินอุดหนุตนเฉพาะกิจนั้นเป็นอย่างไร

ส่วนที่  4  ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

แบบที่ 3/1 แบบประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์
คำชี้แจง : แบบที่ 3/1 เป็นแบบประเมินตนเอง โดยวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประเมินผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบล                          บางจะเกร็ง ตามยุทธศาสตร์ที่กำหนด
ไว้ และมีกำหนดระยะเวลาในการรายงานปีละ ๑ ครั้ง หลังจากสิ้นปีงบประมาณ

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ………………………………………………………………………….
วัน/เดือน/ปีที่รายงาน …………………………………………………………..
ส่วนที่ 2 ยุทธศาสตร์ และโครงการตามแผนพัฒนาปี ………………………….
ยุทธศาสตร์และจำนวนโครงการที่ปรากฏอยู่ในแผน และจำนวนโครงการที่ได้ปฏิบัติ

ยุทธศาสตร์ จำนวนโครงการ
จำนวนโครงการ
ที่ปรากฏอยู่ในแผน
จำนวนโครงการ
ที่ได้ปฏิบัติ
1. xxx xxx
2. xxx xxx
3. xxx xxx
ฯลฯ……….. xxx xxx
รวม xxxx xxxx

เกณฑ์ในการพิจารณา :  หากจำนวนโครงการที่กำหนดไว้ในแผนกับโครงการที่ปฏิบัติจริงมีความสอดคล้องกัน แสดงว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินงานได้ตาม
แผนฯ ที่กำหนด และหากมีโครงการที่ปฏิบัติจริงน้อยกว่าที่กำหนดไว้ในแผนฯ แสดงว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่สามารถดำเนินงานได้ตามแผนฯที่กำหนด

ส่วนที่ ๓ ผลการดำเนินงาน
๔.  ความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาพรวม

ประเด็น พอใจมาก พอใจ ไม่พอใจ
1)  มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในโครงการ /กิจกรรม xxx
2)  มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลของโครงการ /กิจกรรม xxx
3)  มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในโครงการ /กิจกรรม xxx
4)  มีการรายงานผลการดำเนินงานของโครงการ /กิจกรรมให้ประชาชนทราบ xxx
5)  มีความโปร่งใสในการดำเนินโครงการ /กิจกรรม xxx
6)  การดำเนินงานเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด xxx
7)  ผลการดำเนินโครงการ /กิจกรรมนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของประชาชน                ในท้องถิ่น xxx
8)  ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการดำเนินโครงการ /กิจกรรม xxx
ภาพรวม xxxx

เกณฑ์ในการพิจารณา :  หากสัดส่วนของประชาชนที่พอใจและพอใจมากมีมากกว่าร้อยละ ๕๐ แสดงว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินงานได้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด
แต่ถ้ามีร้อยละของประชาชนที่พอใจปานกลาง และพอใจมากน้อยกว่าร้อยละ ๕๐ แสดงว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถดำเนินงานได้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด
๕. ผลการดำเนินงานในแต่ละยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ …………………………………….. (ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาในแต่ละด้านที่กำหนดไว้)
๑) ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง

ประเด็น คะแนน
(10 คะแนน)
1)  มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในโครงการ /กิจกรรม xxx
2)  มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลของโครงการ /กิจกรรม xxx
3)  มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในโครงการ /กิจกรรม xxx
4)  มีการรายงานผลการดำเนินงานของโครงการ /กิจกรรมให้ประชาชนทราบ xxx
5)  มีความโปร่งใสในการดำเนินโครงการ /กิจกรรม xxx
6)  การดำเนินงานเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด xxx
7)  ผลการดำเนินโครงการ /กิจกรรมนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของประชาชนในท้องถิ่น xxx
8)  ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการดำเนินโครงการ /กิจกรรม xxx
ภาพรวม xxxxx

เกณฑ์ในการพิจารณา : หากค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 0 หรือใกล้ 0 แสดงว่าผลการดำเนินงาน  ตามแผนยุทธศาสตร์ของ อปท. ไม่ประสบความสำเร็จ หากค่าคะแนนความ
พึงพอใจเท่ากับ 5 แสดงว่าผลการดำเนินงานในยุทธศาสตร์นั้นๆ ประสบความสำเร็จปานกลาง และหากค่าคะแนนเท่ากับ 10 หรือใกล้เคียง ๑๐ แสดงว่าผลดำเนินงานตามแผน
ยุทธศาสตร์ของ อปท. ในยุทธศาสตร์นั้นๆ ประสบผลสำเร็จมากที่สุด

๒) การเปลี่ยนแปลงของชุมชนตามตัวชี้วัดที่เลือก

ตัวชี้วัดที่เลือก หน่วย ผลการดำเนินงาน
ก่อนดำเนินการ (จำนวน) หลังดำเนินการ(จำนวน) เพิ่ม/ลด
1. จำนวนถนนที่ก่อสร้าง………(ตัวอย่าง) เส้น
2. ประชาชนสัญจรสะดวก รวดเร็วขึ้น……(ตัวอย่าง) ร้อยละ
3. ฯลฯ………..

เกณฑ์ในการพิจารณา :  เปรียบเทียบกับข้อมูลในปีก่อนหน้านี้ โดย
กรณี อปท.เลือกตัวชี้วัดที่เมื่อหน่วยที่วัดเพิ่ม แสดงว่าชุมชนมีการเปลี่ยนแปลง              ไปในทางที่ดี เช่น รายได้ ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ เกณฑ์ในการพิจารณา
จะพิจารณาว่า หลังดำเนินการตามแผนฯ นั้นๆ แล้ว หน่วยที่ทำการวัดเพิ่มขึ้นหรือไม่ ถ้าเพิ่มแสดงว่า อปท. สามารถดำเนินงานได้ตามแผนที่กำหนด แต่หากว่าหน่วย
วัดเท่าเดิม หรือลดลง แสดงว่า อปท.ไม่สามารถดำเนินงานได้ตามแผน
กรณี อปท.เลือกตัวชี้วัดที่เมื่อหน่วยที่วัดลดลง แสดงว่าชุมชนมีการเปลี่ยนแปลง              ไปในทางที่ดี เช่น จำนวนอุบัติเหตุ จำนวนอาชญากรรม เกณฑ์ในการ
พิจารณา                จะพิจารณาว่า หลังดำเนินการตามแผนฯ นั้นๆ แล้ว หน่วยที่ทำการวัดลดลงหรือไม่ ถ้าลดแสดงว่า อปท. สามารถดำเนินงานได้ตามแผนที่กำหน
ด แต่หากว่าหน่วยวัดเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้น แสดงว่า อปท.ไม่สามารถดำเนินงานได้ตามแผน

แบบ 3/2 แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลบางจะ

คำชี้แจง : แบบที่ 3/2 เป็นแบบสำรวจความพึงพอใจของประชาชน ต่อการดำเนินงานของเทศบาลตำบล              บางจะเกร็งในภาพรวม และมีกำหนดระยะเวลาในการรายงานปีละ ๑ ครั้ง หลังจากสิ้นปีงบประมาณ
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
1. เพศ                    (   )  ชาย …. คน                                    (   ) หญิง …… คน
2. อายุ                    (   )  ต่ำกว่า  20 ปี …..คน      (   )  20 – 30  ปี .…..คน         (   )  31- 41 ปี….คน
(   )  41 – 50 ปี …….คน         (   )  51 – 60 ปี …….คน         (   )  มากกว่า 60 ปี 3. การศึกษา            (   )  ประถมศึกษา…….คน             (   )  มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า…….. คน
(   )  อนุปริญญาหรือเทียบเท่า……..คน
(   )  ปริญญาตรี……….คน                     (   )  สูงกว่าปริญญาตรี…….คน              (   )  อื่นๆ……..คน
4. อาชีพหลัก          (   )  รับราชการ………คน                      (   )  เอกชน/รัฐวิสาหกิจ…….คน            (   )  รับจ้าง……. คน
(   )  ค้าขายธุรกิจส่วนตัว……..คน        (   )  นักเรียน/นักศึกษา……….คน          (   )  เกษตรกร….คน                              (   )  อื่นๆ  (ระบุ) ………คน

ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง
5. ท่านมีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลบางจะเกร็งในภาพรวมมากน้อยเพียงใด

ประเด็น พอใจมาก
(คน)
พอใจ
(คน)
ไม่พอใจ
(คน)
1) มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในโครงการ/กิจกรรม xxx
2) มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชนรับรู้ข้อมูลของโครงการ/กิจกรรม xxx
3) มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในโครงการ /กิจกรรม xxx
4) มีการรายงานผลการดำเนินงานของโครงการ /กิจกรรมให้ประชาชนทราบ xxx
5) มีความโปร่งใสในการดำเนินโครงการ /กิจกรรม xxx
6) การดำเนินงานเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด xxx
7) ผลการดำเนินโครงการ /กิจกรรมนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของประชาชนในท้องถิ่น xxx
8) การแก้ไขปัญหาและการตอบสนองความต้องการของประชาชน xxx
9) ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการดำเนินโครงการ /กิจกรรม xxx
ภาพรวม xxxx

เกณฑ์ในการพิจารณา :  ผู้ตอบแบบประเมินในแต่ละระดับความพึงพอใจมีจำนวนเท่าใด

แบบ 3/3 แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง ในแต่ละยุทธศาสตร์
ส่วนยุทธศาสตร์ 1 การพัฒนาด้าน………………….. (ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาในแต่ละด้านที่กำหนดไว้)  ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
1. เพศ                    (   )  ชาย …. คน                                    (   ) หญิง …… คน
2. อายุ                    (   )  ต่ำกว่า  20 ปี …..คน      (   )  20 – 30  ปี .…..คน         (   )  31- 41 ปี….คน
(   )  41 – 50 ปี …….คน         (   )  51 – 60 ปี …….คน         (   )  มากกว่า 60 ปี 3. การศึกษา            (   )  ประถมศึกษา…….คน             (   )  มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า…….. คน
(   )  อนุปริญญาหรือเทียบเท่า……..คน
(   )  ปริญญาตรี……….คน                     (   )  สูงกว่าปริญญาตรี…….คน              (   )  อื่นๆ……..คน
4. อาชีพหลัก          (   )  รับราชการ………คน                      (   )  เอกชน/รัฐวิสาหกิจ…….คน            (   )  รับจ้าง……. คน
(   )  ค้าขายธุรกิจส่วนตัว……..คน        (   )  นักเรียน/นักศึกษา……….คน          (   )  เกษตรกร….คน                              (   )  อื่นๆ  (ระบุ) ………คน

ส่วน 2  ความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง
๕. หากให้ท่านประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลบางจะเกร็งในการพัฒนา            ด้าน…………………….(ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาในแต่ละด้านที่กำหนดไว้) โดยให้คะแนนเต็ม                10 คะแนน  ท่านจะให้คะแนน อปท.ของท่านเท่าใด ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง (คิดเป็นร้อยละ)

ประเด็น คะแนน
(10 คะแนน)
1)  มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอโครงการ /กิจกรรม xxx
2)  มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลของโครงการ /กิจกรรม xxx
3)  มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในโครงการ /กิจกรรม xxx
4)  มีการรายงานผลการดำเนินงานของโครงการ /กิจกรรมให้ประชาชนทราบ xxx
5)  มีความโปร่งใสในการดำเนินโครงการ /กิจกรรม xxx
6)  การดำเนินงานเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด xxx
7)  ผลการดำเนินโครงการ /กิจกรรมนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของประชาชนในท้องถิ่น xxx
8)  ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการดำเนินโครงการ /กิจกรรม xxx
ภาพรวม xxxxx

เกณฑ์ในการพิจารณา : เป็นค่าคะแนน 0 – 10 ในแต่ละประเด็นการประเมิน

ภาคผนวก ก

รูปแผนที่ตามแผนพัฒนาท้องถิ่น

รูปภาพหมู่ 1 ตำบลบางจะเกร็ง

รูปภาพหมู่ 2 ตำบลบางจะเกร็ง

รูปภาพหมู่ 3 ตำบลบางจะเกร็ง

รูปภาพหมู่ 4 ตำบลบางจะเกร็ง

รูปภาพหมู่ 5 ตำบลบางจะเกร็ง

รูปแผนที่ภาพทางอากาศตำบลบางจะเกร็ง

 

(๑.๒เนื้อที่
ตำบลบางจะเกร็ง มีเนื้อที่ประมาณ ๖.๖๕ ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ ๔,๑๕๖ ไร่
เป็นพื้นที่ในการทำการเกษตรและการประมงทั้งสิ้น  ๓,๒๒๔  ไร่
(พื้นที่ในการทำการเกษตร – สวนมะพร้าว    ๘๕  ไร่)
ข้อมูลจาก : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสมุทรสงคราม
                    (๑.๓ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
พื้นที่ตำบลบางจะเกร็ง ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำแม่กลองไปจนถึงปากแม่น้ำ ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล มีป่าชายเลน สภาพดินมีความเค็มปานกลาง
ถึงเค็มจัด บริเวณชายฝั่งทะเลเป็นดินโคลนปากแม่น้ำ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เล็ก
ส่วนภูมิอากาศ เนื่องจากอยู่ติดกับอ่าวไทย ทำให้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้พัดเอาฝนมาตกในฤดูฝนมากพอสมควร
มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ทำให้อากาศโดยทั่วไปอบอุ่นตลอดปี ในฤดูหนาวอากาศจะไม่หนาวจัด และในฤดูร้อนอากาศก็จะไม่ร้อนจนเกินไป อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 28.1 องศาเซลเซียส
          (๑.๔เขตการปกครอง
ตำบลบางจะเกร็งแบ่งเขตการปกครองเป็นหมู่บ้านทั้งหมด    ๕  หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ ๑ บ้านรามัญตะวันตก (๓๗๐ ไร่)     ผู้ใหญ่บ้าน        นายอรุณ  รักชาติ
หมู่ที่ ๒ บ้านบางจะเกร็ง     (๘๑๙ ไร่)      ผู้ใหญ่บ้าน        น.ส.ชนัตถา  ถนอมชาติ
หมู่ที่ ๓ บ้านคลองกลาง   (๑,๐๑๘ ไร่)     ผู้ใหญ่บ้าน        นายนิพัทธ์ คล้ำจิต
(กำนันตำบลบางจะเกร็ง)
หมู่ที่ ๔  บ้านฉู่ฉี่            (๑,๖๙๐ ไร่)      ผู้ใหญ่บ้าน        นางสุภาพ คงรักษา
หมู่ที่ ๕  บ้านรามัญตะวันออก (๒๕๙ ไร่) ผู้ใหญ่บ้าน        นายชัยสิทธิ์  นันทธนากิตติ

(๑.๕ประชากร

ตำบล
บางจะเกร็ง

หมู่ที่

จำนวนครัวเรือน

จำนวนประชากร

ชาย

หญิง

รวม

บ้านรามัญตะวันตก
บ้านบางจะเกร็ง
บ้านคลองกลาง
บ้านฉู่ฉี่
บ้านรามัญตะวันออก

๒๕๑

๒๘๖

๒๖๘

๕๕๔

๗๖๘

๑,๐๒๙

๑,๐๑๓

๒,๐๔๒

๑๐๔

๑๗๔

๑๗๐

๓๔๔

๓๐๗

๓๔๒

๓๗๔

๗๑๖

๓๒๖

๔๒๗

๔๔๕

๘๗๒

รวม

๑,๗๕๖    

๒,๒๕๘ 

๒,๒๗๐

๔,๕๒๘

–  มีความหนาแน่นต่อพื้นที่เฉลี่ย     ๖๘๐.๙๐  คน / ตารางกิโลเมตร
หมายเหตุ : ข้อมูลสำนักงานบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ณ เดือน พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๙

แผนภูมิประชากรตำบลบางจะเกร็ง

 

๒.) สภาพทางเศรษฐกิจ
(๒.๑อาชีพ
อาชีพหลัก         ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง/ประมงน้ำลึก                       และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย เช่น ปูทะเล กุ้งทะเล ปลากะพง รวมทั้ง
การจับสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น การหยอดหอยหลอด และสัตว์น้ำขนาดเล็กอื่นๆ และมีการประกอบธุรกิจต่อเนื่องจากการท่องเที่ยว คือ จำหน่ายอาหารทะเลแปรรูป และประกอบธุรกิจร้านอาหาร
อาชีพรอง          ค้าขาย ทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ รับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กตลอดจนรับจ้างทั่วไป (ตามฤดูกาล)  รับราชการ
อาชีพเสริม/กลุ่มอาชีพ    การแปรรูปอาหารทะเล/แปรรูปสมุนไพร ทำขนมกะละแมรามัญ  สานตะกร้า ผลิตภัณฑ์จากต้นจาก/ขนมกล้วยแก้ว ทำดอกไม้จันทน์/พวงหรีด
รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยหมู่ที่ ๑        ๑๓๑,๗๓๗   บาท/ครัวเรือน/ปี
รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยหมู่ที่ ๒        ๒๔๓,๙๒๕   บาท/ครัวเรือน/ปี
รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยหมู่ที่ ๓        ๓๕๕,๗๕๔   บาท/ครัวเรือน/ปี
รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยหมู่ที่ ๔        ๑๘๑,๙๙๔   บาท/ครัวเรือน/ปี
รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยหมู่ที่ ๕        ๑๔๗,๐๐๐   บาท/ครัวเรือน/ปี
รายได้บุคคลเฉลี่ยหมู่ที่ ๑             ๕๕,๓๖๓   บาท/คน/ปี
รายได้บุคคลเฉลี่ยหมู่ที่ ๒             ๘๓,๓๘๔   บาท/คน/ปี
รายได้บุคคลเฉลี่ยหมู่ที่ ๓           ๑๓๗,๐๒๕   บาท/คน/ปี
รายได้บุคคลเฉลี่ยหมู่ที่ ๔             ๘๙,๐๒๖   บาท/คน/ปี
รายได้บุคคลเฉลี่ยหมู่ที่ ๕             ๔๘,๗๓๐   บาท/คน/ปี
รายได้ครัวเรือนเฉลี่ย      ๒๑๒,๐๘๒   บาท/ครัวเรือน/ปี     (ข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕๙)
รายได้บุคคลเฉลี่ย            ๘๒,๗๐๖   บาท/คน/ปี             (ข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕๙)
(๒.๒ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น
1. แปรรูปอาหารทะเล เช่น หอยหลอด/ปลาไส้ตันตากแห้ง กุ้ง หอย ปู ปลาหมึก อบกรอบ/
สามรส
2. แปรรูปสมุนไพร เช่น แชมพู ครีมนวดผม สบู่เหลว โลชั่น ชาใบขลู่ ยาหม่อง ฯลฯ
3. ผลิตภัณฑ์จากต้นจาก ใบจาก ลูกจาก
4. ขนมกล้วยแก้ว (อบกรอบ)
5. ขนมกะละแมรามัญ
                (๒.๓กลุ่มอาชีพ
1. กลุ่มกะละแมรามัญ  หมู่ที่ 1
2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรือนไม้หอม (สมุนไพร)  หมู่ที่ 3
3. กลุ่มเกษตรบ้านคลองกลาง (ปลาไส้ตัน ดอกไม้จันทน์ พวงหรีด)  หมู่ที่ 3
4. ร้านค้าชุมชนพอเพียง  หมู่ที่ 3
5. กลุ่มอาชีพแปรรูปอาหารทะเล  หมู่ที่ 3 / หมู่ที่ ๔
 (๒.๔)  หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาล
–   คลังน้ำมัน                                               ๔                     แห่ง
–   คลังก๊าซ (LPG)                                       ๑                     แห่ง
–   โรงงานอุตสาหกรรม                              ๑๔                      แห่ง
–   ท่าเรือพาณิชย์                                         ๑                   แห่ง
–   ร้านอาหาร                                       ๒๘                  แห่ง
–   ร้านขายยา                                              ๒                     แห่ง
–   ที่พักโฮมสเตย์  (การจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์)     หมู่ที่ ๓  และหมู่ที่ ๔

๓.) สภาพทางสังคม
(๓.๑การศึกษา
–  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                                               ๓                     แห่ง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบางจะเกร็ง                        หมู่ที่  ๒
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรัทธาธรรม                       หมู่ที่  ๑
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านฉู่ฉี่                     หมู่ที่  ๔
–   โรงเรียนประถมศึกษา (สังกัด สพฐ.)                      ๓                     แห่ง
โรงเรียนวัดบางจะเกร็ง (ประโชตประชานุกูล)        หมู่ที่  ๒
โรงเรียนวัดศรัทธาธรรม               หมู่ที่  ๑
โรงเรียนบ้านฉู่ฉี่                         หมู่ที่  ๔
–   โรงเรียนมัธยมศึกษาขยายโอกาส              ๑                     แห่ง
(ต่อเนื่องจากประถมศึกษา)
–  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลบางจะเกร็ง             ๑                  แห่ง
–   ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน             ๓                      แห่ง

 

 (๓.๒) สถาบันและองค์กรทางศาสนา
–   วัด      ๒   แห่ง
วัดบางจะเกร็ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านบางจะเกร็ง ตำบลบางจะเกร็ง เป็นสถานที่เคารพสักการะและเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในตำบลรวมถึงเป็นแหล่งศึกษาธรรมะของนักท่องเที่ยว
วัดบางจะเกร็งเดิมชื่อ              ว่า “อินทคงคา” ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเห็นว่าพื้นที่ในตำบลบางจะเกร็ง
มีต้นจะเกร็ง หรือต้นเหงือกปลาหมอขึ้นในพื้นที่มากมาย จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดบางจะเกร็ง” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วัดบางจะเกร็ง เป็นวัดโบราณวัดหนึ่งในจังหวัดสมุทรสงคราม
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อศิลา” สร้างขึ้นจากหินแกรนิต ศิลปะโบราณสมัยทวาราวดี เป็นพระพุทธรูปปาง
นาคปรก ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุด เป็น ๑ ใน ๓ องค์ของประเทศไทย (องค์หนึ่งอยู่ที่ วัดทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย อีกองค์หนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ) และบนเพดาน
ศาลาการเปรียญมีภาพจิตรกรรมสัตว์หิมพานต์ ซึ่งมีลวดลายอันวิจิตรบรรจง

วัดศรัทธาธรรม  ชาวบ้านมักเรียกกันว่า “วัดมอญ” เนื่องจากเป็นวัดที่สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของชุมชนมอญ เป็นวัดที่พระอุโบสถทำจากไม้สักทองฝังมุกทรงสำเภา และจุดเด่น
คือ ผนังด้านในของอุโบสถฝังมุกทั้งหลัง ภายในเป็นภาพพุทธประวัติ ภาพรามเกียรติ์ ประดิษฐานพระพุทธรูปจำลองหลายองค์ พระประธานเป็นรูปหล่อพระพุทธชินราช นอกจาก
นี้ยังมีรูปหล่อหลวงพ่อบ้านแหลม หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เป็นที่สักการะของชาวสมุทรสงคราม และจังหวัดใกล้เคียง สร้างโดยพระครูสมุทรวิสุทธิวงศ์ (อดีตเจ้า
อาวาส) เมื่อปี พ.ศ. 2535 แทนที่อุโบสถหลังเก่านักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมานมัสการได้ทุกวัน นอกจากนี้เขื่อนบริเวณหน้าวัดยังเป็นจุดชมทัศนียภาพปากอ่าวแม่กลองได้อย่างสวยงาม

(๓.๓) สาธารณสุข
–   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล     ๒        แห่ง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางจะเกร็ง         หมู่ที่  ๓
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฉู่ฉี่               หมู่ที่  ๔
–   อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ  ๑๐๐%
(๓.๔ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
–  ป้อมตำรวจชุมชนประจำตำบล                   ๑         แห่ง
–  กล้องวงจรปิด CCTV        จำนวน   ๒๘  จุด

๔.) การบริการพื้นฐาน
(๔.๑การคมนาคมเทศบาลตำบลบางจะเกร็งอยู่ห่างจากอำเภอเมืองสมุทรสงคราม  ๔  กิโลเมตร
         มีเส้นทางการคมนาคมที่สำคัญ  ๒๖ สาย  ดังนี้

ลำดับที่

ชื่อสายทาง

ชนิดผิวจราจร

ขนาด

ลักษณะเส้นทาง

ที่ตั้งหมู่ที่

ผิวจราจรกว้าง (ม.)

ยาว (กม.)

ความหนา (ม.)

1

ราชญาติรักษา                 (วัดศรัทธาธรรม –
วัดบางจะเกร็ง)

AC

5.00

1.167

0.05

เชื่อมระหว่างหมู่บ้าน

2,5

2

บ้านคลองกลาง

AC

4.00

1.500

0.05

เชื่อมระหว่างหมู่บ้าน

2,3

3

ซอยเหลือบชม

AC/รางระบายน้ำ

5.00

0.700

0.05

ซอยตัน

2

4

ซอยบางจะเกร็ง 1

คสล./ท่อระบายน้ำ

4.00

0.308

0.15

ซอยตัน

2

5

ซอยบางจะเกร็ง 2

คสล./ท่อระบายน้ำ

3.50

0.572

0.15

ซอยตัน

2

6

ซอยบางจะเกร็ง 3

คสล./รางระบายน้ำ

3.00

0.560

0.15

ซอยตัน

2

7

ซอยบางจะเกร็ง 3/1

คสล./ท่อระบายน้ำ

3.00

0.070

0.15

ซอยตัน

2

8

ซอยบางจะเกร็ง 3/2

คสล./ท่อระบายน้ำ

3.00

0.113

0.15

ซอยตัน

2

9

ซอยบางจะเกร็ง 4

คสล./รางระบายน้ำ

4.00

0.171

0.15

ซอยตัน

2

10

ซอยบางจะเกร็ง 7

คสล./ท่อระบายน้ำ

3.50

0.272

0.15

ซอยตัน

2

11

ซอยบางจะเกร็ง 7/1

คสล./รางระบายน้ำ

4.00

0.072

0.15

ซอยตัน

2

12

ซอยบางจะเกร็ง 8

คสล./ท่อระบายน้ำ

4.00

0.129

0.15

ซอยตัน

2

13

ซอยบางจะเกร็ง 9

ลูกรัง/หินคลุก

4.00

0.050

ซอยตัน

2

14

ซอยบางจะเกร็ง 10

คสล./ท่อระบายน้ำ

4.00

0.322

0.15

ซอยตัน

2

15

ซอยป้าจิบ

คสล./รางระบายน้ำ

3.50

0.126

0.15

ซอยตัน

2

16

ซอยหลังโรงเรียน                วัดบางจะเกร็ง

คสล./รางระบายน้ำ

5.00

0.076

0.15

ซอยตัน

2

17

ซอยลุงยิ่ง

คสล./ท่อระบายน้ำ

3.00

0.075

0.15

ซอยตัน

3

18

ซอยปู่เบียบ

คสล./ท่อระบายน้ำ

4.00

0.260

0.15

ซอยตัน

3

19

ซอยเจริญสุข

คสล./รางระบายน้ำ

3.00

0.100

0.15

ซอยตัน

4

20

ซอยเฟื่องฟ้า

คสล./ท่อระบายน้ำ

4.00

0.258

0.15

ซอยตัน

4

21

ซอยสหเฮง

คสล./ท่อระบายน้ำ

5.00

0.318

0.15

ซอยตัน

4

22

ซอยเสกสรรค์

คสล./ท่อระบายน้ำ

1.50-2.50

0.161

0.15

ซอยตัน

5

23

ซอยทรัพย์ในดิน

คสล.

3.00

0.288

0.15

ซอยตัน

5

๒๔

ซอยลุงปลิว

คสล.

3.00

0.๐๕๐

0.15

ซอยตัน

๒๕

เทศบาล ๑

AC

5.00

0.๕๕๐

0.๐5

เชื่อมระหว่าง               ซอยเหลือบชมกับ                 ถนนราชญาติรักษา

2

๒๖

ซอยหลังโรงเรียนวัด                บางจะเกร็ง  (ป่าช้า)

AC

๔.๐๐-5.00

0.๑๓๘

0.๐5

เชื่อมระหว่าง               ถนนราชญาติรักษา
กับตำบลบางแก้ว

2

ที่มา : กองช่าง  เทศบาลตำบลบางจะเกร็ง

(๔.๒การโทรคมนาคม
–  เสียงตามสาย
–  หอกระจายข่าว  หมู่ที่ ๔                ๑                     แห่ง
–  โทรศัพท์สาธารณะ
–  อินเทอร์เน็ตตำบล/หมู่บ้าน                        –                  แห่ง
–  ที่ทำการไปรษณีย์                         –                       แห่ง
–  สถานีโทรคมนาคมอื่น ๆ                –                       แห่ง
(๔.๓การไฟฟ้า
–  หมู่บ้านที่มีไฟฟ้าเข้าถึง           ๕   หมู่บ้าน
–  ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า             ๑,๗๕๖   ครัวเรือน
–  ครัวเรือนที่ไม่ได้ใช้ไฟฟ้า           –     ครัวเรือน
–  มีไฟฟ้าใช้คิดเป็นร้อยละ  ๑๐๐
(๔.๔แหล่งน้ำธรรมชาติ
– ทะเลอ่าวไทย
– แม่น้ำแม่กลอง
– ลำคลอง          ๗     คลอง
๑. คลองบางจะเกร็ง
๒. คลองมอญ
๓. คลองกลาง
๔. คลองแพรกทะเล
๕. คลองแพรกลึก
๖. คลองฉู่ฉี่
๗. คลองศรีสุข
(๔.๕แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
–  ประปาหมู่บ้าน                                   ๑                     แห่ง
–  ประปาส่วนภูมิภาค                 ๑                     แห่ง

๕.) ข้อมูลอื่น ๆ
(๕.๑ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่และสถานที่ท่องเที่ยว

      • สัตว์น้ำทางทะเล เช่น หอยหลอด,หอยแมลงภู่,หอยแครง,หอยกระปุก,หอยกะพง,ปลาทู ,             ปูทะเล,ปูม้า
      • ป่าชายเลน พืชและสัตว์บริเวณป่าชายเลน เช่น โกงกาง แสม ประสัก ตะบูน ลิงแสม

พื้นที่ในตำบลบางจะเกร็งมีความเหมาะสมเป็นแหล่งท่องเที่ยว จากต้นทุนวัฒนธรรมเดิม      และเอกลักษณ์เฉพาะของสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ ซึ่งรูปแบบการท่องเที่ยว
ที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น รวมทั้งเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมที่มีความอุดมสมบูรณ์สามารถนำมาใช้เป็นต้นทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจและอาชีพของประชาชนได้ ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นโอกาสในการพัฒนา ดังนี้
ดอยหอยหลอด ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม จัดเป็นพื้นที่               ที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ โดยได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็น
พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ (Ramsar Site) ลำดับที่ 1,099 (ลำดับที่ 3 ของประเทศไทย) เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2543 ครอบคลุมพื้นที่ 24.09
ตารางกิโลเมตร (15,056.25 ไร่) จากพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งหมด 546,875 ไร่ ซึ่งรวมทั้งพื้นที่ที่อยู่บนบกและในทะเลของ ต.บางจะเกร็ง ต.บางแก้ว ต.แหลมใหญ่  ต.คลองโคน
อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม  ดอนหอยหลอดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเลลักษณะดิน จากการทับถมของตะกอนจากแม่น้ำและตะกอนจากทะเลบริเวณปากแม่น้ำแม่กลอง เป็น
กลไกทางธรรมชาติที่ช่วยกรองตะกอนจากแม่น้ำก่อนที่จะออกสู่ทะเลเกิดเป็นสันดอนยื่นออกไปในทะเลราว ๘ กิโลเมตร ลักษณะของพื้นที่เป็นชายฝั่งราบเรียบที่พื้นเป็น
ทรายและตะกอนโคลนเลนที่มีความสมบูรณ์ของธาตุอาหาร จึงเป็นพื้นที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่มีความหลากหลาย รวมถึงหอยนานาชนิดที่มีคุณค่า
ทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะหอยหลอด ซึ่งมีลักษณะที่               โดดเด่นหาได้ยากในภูมิภาคอื่น ซึ่งพบแพร่กระจายในพื้นที่จำนวน 4 ชนิด ประกอบด้วย Solen strictus,
S. corneus, S. regularis และ S. thailandicus ชนิดที่พบจำนวนมากและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง 2 ชนิด คือ S. regularis และ S. thailandicus (สำนักงาน นโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
, 2542. , วัลลพและคณะ, 2535 ; สุนันท์และมงคลรัตน์, 2538) บริเวณดอนหอยหลอดและป่าชายเลนที่อยู่ใกล้เคียงยังเป็นแหล่งอาศัยของนกทะเลและนกชายฝั่งอย่างน้อย
๑๘ ชนิด ในจำนวนนี้มีอยู่ชนิดหนึ่งที่จัดเป็นนกที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย คือ นกกระสานวล และมีอีก ๓ ชนิดที่จัดอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกคุกคาม ได้แก่
เหยี่ยวแดง นกนางนวลแกลบเล็ก และนกนางแอ่นกินรัง จากการสำรวจบริเวณดอนหอยหลอดยังพบสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกอย่างน้อย ๔๒ ชนิด ดอนหอยหลอดจึงมีความสำคัญ
ในแง่ของแหล่งศึกษาทางนิเวศวิทยา                      ที่มีความสมบูรณ์ ทั้งการค้นคว้าวิจัย ทดลอง รวมถึงการเก็บตัวอย่างเพื่อการศึกษา และเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่มี
ความสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินวิถีชีวิต และวิถีการประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่
ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ตั้งอยู่ในเขตของดอนหอยหลอด เป็นสถานที่                       ที่นักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่มาสักการะเมื่อมาถึงดอยหอยหลอด
ภายในศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีรูปปั้นของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ประดิษฐาน                 อยู่ภายใน โดย
เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวไทยที่มาเที่ยวดอนหอยหลอด บริเวณโดยรอบศาล ยังมีบันทึกของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่นำมาแสดงไว้บนแผ่นหินอยู่
ทางด้านหลังศาล สถานที่โดยรอบเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจริมทะเล

(๕.๒มวลชนจัดตั้ง
กลุ่มที่เทศบาลตำบลบางจะเกร็งหรือหน่วยงานของรัฐบาลจัดตั้งขึ้นในตำบลบางจะเกร็ง
–  ลูกเสือชาวบ้าน                                         ๓         รุ่น                   ๕๐       คน
–  OTOS                                                     ๑         รุ่น                    ๑๐       คน
–  อปพร.                                                     ๒         รุ่น                ๑๐๒        คน
–  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน        ๕      หมู่บ้าน                ๕๐       คน
–  อาสาสมัครอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ                       ๑         รุ่น                    ๕๐       คน
–  กลุ่มสตรี                                                  ๑         กลุ่ม                 ๕๐       คน
–  กลุ่มออมทรัพย์                                        ๔         กลุ่ม              ๕๑๒       คน
–  กลุ่มฟื้นฟูดอนหอยหลอด                          ๑         กลุ่ม                ๖๑       คน
–  สภาวัฒนธรรมตำบลบางจะเกร็ง
–  ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรตำบลบางจะเกร็ง
–  ศูนย์กีฬาประจำตำบลบางจะเกร็ง

๖.) ศักยภาพในตำบล

      1. ศักยภาพของเทศบาลตำบล
      2. จำนวนบุคลากร       จำนวน   ๓๓  คน

ตำแหน่งในสำนักปลัดเทศบาล                      จำนวน   ๑๐  คน
ตำแหน่งในกองคลัง                                                 จำนวน     ๖  คน
ตำแหน่งในกองการศึกษา                             จำนวน     ๖  คน
ตำแหน่งในกองช่าง                                      จำนวน     ๖  คน
ตำแหน่งในกองสาธารณสุข                                      จำนวน     ๕  คน
(๒)  ระดับการศึกษาของบุคลากร
ระดับประถมศึกษา                                      จำนวน     ๘  คน
มัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา                              จำนวน     ๗  คน
ปริญญาตรี                                                 จำนวน     ๘  คน
สูงกว่าปริญญาตรี                                       จำนวน   ๑๐  คน
(๓)  รายได้เทศบาลตำบล
ประจำปีงบประมาณ  ๒๕๕๘        ๒๗,๒๕๗,๖๑๓.๑๘   บาท  แยกเป็น
– รายได้ที่เทศบาลตำบลจัดเก็บเอง                       ๑,๗๖๖,๕๕๖.๗๘     บาท
– รายได้ที่ส่วนราชการจัดเก็บให้ (ภาษีจัดสรร)      ๑๔,๗๓๑,๒๙๕.๑๘         บาท
– เงินอุดหนุนจากรัฐบาล                                     ๖,๒๗๑,๒๔๙.๐๐         บาท
– เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ                                       ๗,๕๔๖,๔๓๙.๐๐        บาท
– เงินสะสม                                                    ๓๙๒,๘๗๘.๐๐          บาท
(๔) พาหนะสำหรับบริการชุมชน
– รถยนต์ส่วนกลาง (รถยนต์บรรทุกดีเซล แบบดับเบิ้ลแค็บ)          จำนวน  ๒  คัน
– รถจักรยานยนต์ส่วนกลาง         จำนวน   ๒  คัน                                                                            –  รถบรรทุกขยะมูลฝอย ขนาด  ๖ ล้อ  ๖ ตัน  ชนิดอัดท้าย          จำนวน  ๑  คัน
–  รถบรรทุกขยะมูลฝอย ขนาด  ๖ ล้อ  ๖ ตัน  ชนิดเปิดข้างเทท้าย  จำนวน  ๑  คัน
– รถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์ (ขนาด ๖ ล้อ หน้าเดียว ล้อหลังคู่
ปริมาตรบรรจุ  ๖,๐๐๐ ลิตร)      จำนวน  ๑  คัน
– เรือไฟเบอร์พร้อมเครื่องยนต์       จำนวน  ๑  ลำ

      1. ศักยภาพของชุมชม  และพื้นที่

การรวมกลุ่มของประชาชน
จำนวนกลุ่มทุกประเภท                 ๑๙          กลุ่ม
แยกประเภทกลุ่ม
๑.  กลุ่มอาชีพ                                 ๕         กลุ่ม
๒.  กลุ่มออมทรัพย์                          ๔         กลุ่ม
๓.  กลุ่มอื่นๆ                               ๑๑           กลุ่ม
๒. ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง
๑) โครงสร้างของเทศบาลตำบล
โครงสร้างของเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง  แบ่งเป็น  ๒  ฝ่ายใหญ่ ๆ  คือ
๑. ฝ่ายสภาเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง
๒. ฝ่ายบริหารตำบลบางจะเกร็ง

๑. สภาเทศบาลตำบล
สภาเทศบาลตำบล  ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลตำบล ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
เทศบาลตำบล  บางจะเกร็ง ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบสองคน และอยู่ดำรงตำแหน่งได้คราวละ ๔ ปีนับแต่วันเลือกตั้ง

                      โครงสร้างสภาเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง

โครงสร้างสภาเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง

           สภาเทศบาลตำบล  มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
           (๑) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาเทศบาลตำบลเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการของเทศบาล
ตำบล
           (๒) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างเทศบัญญัติเทศบาลตำบล  ร่างเทศบัญญัติงบประมาณ                รายจ่ายประจำปี  และร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
           (๓) ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกเทศมนตรีตำบลให้เป็นไปตามกฎหมาย  นโยบาย แผนพัฒนา
เทศบาลตำบล  เทศบัญญัติ  ระเบียบ  และข้อบังคับของทางราชการ
           ๒. นายกเทศมนตรี
นายกเทศมนตรีตำบล มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในเขตเทศบาลตำบล มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ ๔ ปี นายกเทศมนตรีตำบล อาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรี
ตำบลได้ไม่เกินสองคน และอาจแต่งตั้งที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี ได้ไม่เกินสองคน
นายกเทศมนตรี  มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
           (๑) กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย  และรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาล
ให้เป็นไปตามกฎหมาย  ระเบียบ  ข้อบังคับ เทศบัญญัติ และนโยบาย

      1. สั่ง  อนุญาต  และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล
      2. แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และเลขานุการ

นายกเทศมนตรี

      • วางระเบียบเพื่อให้งานของเทศบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
      • รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติ
      • ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น

โครงสร้างผู้บริหารเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง

           ๒) บทบาทและอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล
           เทศบาลตำบล  มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ ดังนี้
           มาตรา     ๕๐  ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้

      1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
      2. ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
      3. รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
      4. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
      5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
      6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
      7. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
      8. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
      9. หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงานและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไป
ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้นและหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

           มาตรา     ๕๑  ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใดๆ ในเขตเทศบาลตำบล ดังต่อไปนี้

      • ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
      • ให้มีโรงฆ่าสัตว์
      • ให้มีตลาด  ท่าเทียบเรือ  และท่าข้าม
      • ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
      • บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
      • ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
      • ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
      • ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
      • เทศพาณิชย์

) โครงสร้างการจัดแบ่งส่วนราชการและการบริหารบุคคลของเทศบาลตำบล
การจัดโครงสร้างส่วนราชการของเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง  ประกอบด้วย
๑. สำนักปลัดเทศบาล
ให้มีหัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักปลัดเทศบาลมีหน้าที่เกี่ยวกับ
งานวางแผนอัตรากำลัง งานกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน งานบรรจุ แต่งตั้งการเลื่อนระดับ งานโอน ย้าย งานทะเบียนประวัติและบัตร งานฝึกอบรมและ
พัฒนาบุคลากร งานประเมินผลการปฏิบัติ  งานพิจารณาความดีความชอบ งานดำเนินการทางวินัย งานเกี่ยวกับการออกจากราชการ งานเสนอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และประกาศ
เกียรติคุณ งานธุรการ งานสารบรรณกลาง งานรัฐพิธี พิธีการต่างๆ                 งานประชาสัมพันธ์หน่วยงาน งานรับรอง งานรักษาความสะอาดและความปลอดภัยสถานที่ราชการ
งานด้านนิติการ และดำเนินคดี งานเกี่ยวกับตราข้อบัญญัติ ระเบียบของหน่วยงาน งานเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารงานเกี่ยวกับเรื่องราวร้องทุกข์ งานเกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจ
ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ งานสาธารณสุข งานเกี่ยวกับการประชุมเทศบาลตำบล                 บางจะเกร็ง
งานเกี่ยวกับการประชุมกรรมการต่างๆ งานสิทธิสวัสดิการทะเบียนประวัติ การพัฒนาอบรมสมาชิกสภาองค์การ งานเกี่ยวกับการประชุมต่างๆ งานสิทธิสวัสดิการทะเบียนประวัติ
การพัฒนาอบรมสมาชิกสภาเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง งานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน งานส่งเสริมประชาธิปไตย                       งานเลือกตั้งนายกเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง
และสมาชิกสภาเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง งานจัดทำแผนพัฒนาองค์การ งานจัดทำระบบข้อมูล (ศูนย์ข้อมูล) งานจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี/รายจ่ายเพิ่ม
เติม งานเกี่ยวกับโครงการอุดหนุนต่างๆ งานโครงการตามพระราชดำริ งานการจัดการสิ่งแวดล้อม       งานประสานหน่วยงานต่างๆ ราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการ
ใด งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง     และได้รับมอบหมาย

๒. กองคลัง
ให้มีผู้อำนวยการกองคลังเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองคลังเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง  มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ
งานเกี่ยวกับการเบิกจ่าย รับ นำส่ง เก็บภาษีเงินและเอกสารทางการเงิน งานเกี่ยวกับ               การตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่ายและอนุมัติฎีกา งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง
ค่าตอบแทน และเงินอื่นๆ  งานคำขอเบิกเงินสวัสดิการต่างๆ งานจัดทำบัญชี งานทะเบียนคุมรายได้ รายจ่ายทุกประเภทและจัดทำทะเบียนคุมเงิน งานจัดทำงบทดลอง งบ
แสดงฐานะทางการเงิน งบทรัพย์สิน งบหนี้สิน-เจ้าหนี้ และงบสะสมประจำเดือนประจำปี งานจัดทำข้อมูลสถิติการคลัง งานควบคุมการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ งานเกี่ยวกับ
การจัดซื้อจัดจ้าง จัดหาพัสดุ งานเกี่ยวกับซ่อมแซม บำรุงรักษาพัสดุ งานจำหน่ายพัสดุ ครุภัณฑ์ หรือทรัพย์สิน  งานการควบคุม รับ-จ่ายพัสดุ งานตรวจสอบการรับ จ่ายพัสดุ
ประจำปี งานเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน งานจัดเก็บภาษีงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย

๓. กองช่าง
ให้มีผู้อำนวยการกองช่างเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง เป็นผู้บังคับชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองช่างเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง  มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ
สำรวจและจัดทำโครงการ งานออกแบบและเขียนแบบ งานตรวจสอบการก่อสร้าง                    งานรวบรวมจัดเก็บประวัติโครงการต่างๆ งานการควบคุมอาคาร งานจัดทำแผนที่และ
แผนผังต่างๆ                       งานประมาณโครงการต่างๆ  งานเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานของช่าง งานกำหนดราคากลางของวัสดุและงานต่างๆ ของท้องถิ่น งานวางแผน
การปฏิบัติงานการก่อสร้างและซ่อมบำรุง งานควบคุมการก่อสร้าง  งานควบคุมการ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาพัสดุและทรัพย์สิน งานเกี่ยวกับสาธารณูปโภค งานเกี่ยวกับการป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัย งานระบายน้ำ งานสนามกีฬาเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย

๔. กองการศึกษา
ให้มีผู้อำนวยการกองการศึกษาเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองการศึกษาเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง  มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ
งานส่งเสริมการกีฬา วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมมิปัญญาท้องถิ่น งานการส่งเสริมการศึกษา งานห้องสมุดประชาชน งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย
๕. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
ให้มีผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม
เทศบาลตำบลบางจะเกร็ง   มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ
งานส่งเสริมสุขภาพ การจัดการขยะ ป้องกันโรคติดต่อและไม่ติดต่อ งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย
                    อัตรากำลังพนักงานและลูกจ้างเทศบาลตำบลบางจะเกร็งทั้งสิ้น  ๓๓  คน
๑.  พนักงานส่วนตำบล              จำนวน            ๑๓         คน
หมายเหตุ : ตำแหน่งว่าง  ๒  อัตรา
๒.  ลูกจ้างประจำ                       จำนวน              ๑        คน

        •                   ๓.  พนักงานจ้าง                                    จำนวน            ๑๙         คน
        •                               หมายเหตุ : ตำแหน่งว่าง  ๓  อัตรา

งบประมาณ
รายรับรายจ่ายของเทศบาลตำบลในปีงบประมาณที่ผ่านมา เปรียบเทียบย้อนหลัง ๔ ปี

รายการ / ปี พ..

พ.ศ.๒๕๕๕

พ.ศ.๒๕๕๖

พ.ศ.๒๕๕๗

พ.ศ.๒๕๕๘

ประมาณการรายรับ

๑๗,๘๐๐,๐๐๐.๐๐

๒๑,๕๐๐,๐๐๐.๐๐

๒๓,๐๐๐,๐๐๐.๐๐

๒๕,๐๐๐,๐๐๐.๐๐

รายรับจริง

๒๔,๖๘๑,๗๙๑.๙๕

๓๓,๑๖๙,๙๔๕.๔๗

๒๗,๒๕๗,๖๑๓.๑๘

๓๐,๗๐๘,๔๑๗.๙๖

ประมาณการรายจ่าย

๑๗,๘๐๐,๐๐๐.๐๐

๒๑,๕๐๐,๐๐๐.๐๐

๒๓,๐๐๐,๐๐๐.๐๐

๒๕,๐๐๐,๐๐๐.๐๐

รายจ่ายจริง

๑๕,๔๓๗,๘๔๕.๙๕

๒๘,๖๖๐,๘๐๗.๗๗

๒๗,๐๙๑,๓๘๐.๙๒

๓๐,๒๑๔,๑๓๒.๑๖

กราฟแสดงรายรับ-รายจ่ายย้อนหลัง

3. จุดยืนทางยุทธศาสตร์(Positioning) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                    จุดยืนทางยุทธศาสตร์
ตำบลบางจะเกร็ง เป็นตำบลที่อยู่ในอำเภอเมืองสมุทรสงคราม พื้นที่ของตำบลมีขนาดเล็ก ง่ายต่อการพัฒนา มีสถานที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร
การเดินทางและการคมนาคมมีความสะดวก รวดเร็ว เหมาะแก่การส่งเสริมการค้าชุมชนและพัฒนาเป็นประตูสู่แหล่งท่องเที่ยว โดยสามารถเชื่อมโยงสถานที่ท่องเที่ยวร่วมกับพื้นที่
อื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงได้สะดวกเป็นการเปิดรับประชาคมอาเซียนที่จะมาถึง มีทรัพยากร ทางธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ ที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอดที่มีความสำคัญระดับ
นานาชาติ (Ramsar Site) ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะหอยหลอดซึ่งมีลักษณะที่โดดเด่นหาได้ยากในภูมิภาคอื่น
ประชาชนส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย เช่น กุ้งทะเล ปูทะเล ปลากะพง และจับสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น หอยหลอด และสัตว์น้ำขนาดเล็กอื่นๆ มีการ
ประกอบธุรกิจต่อเนื่องจากการท่องเที่ยว คือ จำหน่ายอาหารทะเลแปรรูป และประกอบธุรกิจร้านอาหาร ทำให้ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้ส่งผลให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ในพื้นที่ตำบลบางจะเกร็งยังมีป่าชายเลนที่คงความสมบูรณ์ทางระบบนิเวศซึ่งเป็นแหล่งอาศัยและเป็นแหล่งอนุบาลพันธุ์สัตว์น้ำ อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาศัยของนกทะเลและ
นกชายฝั่งอย่างน้อย ๑๘ ชนิด พื้นที่ในตำบลบางจะเกร็งมีความเหมาะสมเป็นแหล่งท่องเที่ยว  จากต้นทุนวัฒนธรรมเดิม และเอกลักษณ์เฉพาะของสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่
ซึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวที่เห็น  ได้อย่างชัดเจน คือ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น ซึ่ง
ประชาชนส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวมอญ เกิดเป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรมเป็นอัตลักษณ์ และภูมิปัญญาของท้องถิ่น เช่น การทำกะละแมรามัญ , ด้านการทำประมงชายฝั่ง
/ประมงน้ำลึก ด้านช่างไม้ การต่อเรือจำลองและปลูกบ้านทรงไทย
ฉะนั้น ด้วยสภาพพื้นที่ที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความอุดมสมบูรณ์สามารถนำมาใช้เป็นต้นทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจและอาชีพของประชาชนได้
รวมทั้งจากการกำหนดนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ ศักยภาพของตำบลบางจะเกร็ง ตลอดจนความต้องการของประชาชน จึงกำหนด             จุดยืนทางยุทธศาสตร์(Positioning)
ของตำบลบางจะเกร็ง  คือ

ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน ส่งเสริมการศึกษาพร้อมทั้งอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
                                                    สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนในการเป็นประชาคมอาเซียน
จุดยืนทางยุทธศาสตร์เทศบาลตำบลบางจะเกร็ง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสมุทรสงคราม , ยุทธศาสตร์จังหวัดสมุทรสงคราม , ยุทธศาสตร์
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง ๒ , แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ , นโยบายรัฐบาล และค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ

ภาคผนวก ข

แนวทางการพิจารณาติดตามและประเมินผลโครงการ

แนวทางการพิจารณาการติดตามและประเมินผลโครงการ
สำหรับแผนพัฒนาสามปีเพื่อความสอดคล้องของยุทธศาสตร์และโครงการ

ประเด็นพิจารณา

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

1. การสรุปสถานการณ์การพัฒนา

10

2. การประเมินผลการนำแผนพัฒนาสามปีไปปฏิบัติในเชิงปริมาณ

10

3. การประเมินผลการนำแผนพัฒนาสามปีไปปฏิบัติในเชิงคุณภาพ

10

๔. แนวทางการพัฒนาและยุทธศาสตร์การพัฒนา

10

๕. โครงการพัฒนาประกอบด้วย

60

     ๕.๑ ความชัดเจนของชื่อโครงการ

5

     ๕.๒ กำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับโครงการ

5

     ๕.๓ จำนวนวัตถุประสงค์มีความเหมาะสมกับโครงการ

3

     ๕.๔ เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) มีความชัดเจนนำไปสู่การตั้งงบประมาณได้ถูกต้อง

5

     5.5 เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) มีความสอดคล้อง ต่อเนื่องกับระยะเวลาปี (3 ปี)

3

     5.6 งบประมาณ มีความสอดคล้องกับเป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ)

4

     5.7 มีการประมาณการราคาถูกต้องตามหลักวิธีการงบประมาณ

5

     5.8 มีงบประมาณที่ผ่านมา 3 ปีย้อนหลัง ตามความเป็นจริง

3

     5.9 โครงการแต่ละโครงการครอบคลุมระยะเวลา 3 ปี ทุกโครงการ

5

     5.10 มีการกำหนดตัวชี้วัด (KPI) และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และผลที่คาดว่าจะได้รับ

5

     5.11 ตัวชี้วัด (KPI) วัดได้ถูกต้องตามหลักของการจัดทำโครงการ

4

     5.12 ผลที่คาดว่าจะได้รับ สอดคล้องกับโครงการ

5

     5.13 ผลที่คาดว่าจะได้รับ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์

5

     ๕.14 หน่วยงานรับผิดชอบหลักสอบคล้องกับ แบบ ยท. 03 และ แบบ ยท. 04

3

รวม

100

 

ประเด็นการพิจารณา

รายละเอียดหลักเกณฑ์

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

1.สรุปสถานการณ์การพัฒนา เป็นการวิเคราะห์ด้วยระบบ SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพการพัฒนาท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อค้นหาจุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและอุปสรรคที่อาจส่งผลต่อการดำเนินงานประเด็นที่ต้องมีการวิเคราะห์ได้แก่ S-Strength (จุดแข็ง)W-Weakness (จุดอ่อน) O-Opportunity (โอกาส) และ                   T-Threat (อุปสรรค)  หลักการสำคัญก็คือการวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์ 2 ด้านคือสภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอกเพื่อให้รู้จักตนเองและรู้จักสภาพแวดล้อมในการบริหาร                    และบริการกิจการสาธารณะ

10

2. การประเมินผลการนำแผนพัฒนาสามปีไปปฏิบัติในเชิงปริมาณ การควบคุมที่มีการใช้ตัวเลขต่างๆ เพื่อนำมาใช้วัดผลในเชิงปริมาณ เช่น การวัดจำนวนโครงการ กิจกรรม งานต่างๆ ก็คือผลผลิตนั่นเองว่าเป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้หรือไม่จำนวนที่ดำเนินการจริงตามที่ได้กำหนดไว้เท่าไหร่ จำนวนที่ไม่สามารถดำเนินการได้มีจำนวนเท่าไหร่ สามารถอธิบายได้ตามหลักประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการพัฒนาท้องถิ่นตามอำนาจหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้

10

3. การประเมินผลการนำแผนพัฒนาสามปีไปปฏิบัติในเชิงคุณภาพ การประเมินประสิทธิผลของแผนพัฒนาในเชิงคุณภาพคือการนำเอาเทคนิคต่างๆ มาใช้เพื่อวัดว่าภารกิจ โครงการ กิจกรรม งานต่างๆ ที่ดำเนินการในพื้นที่นั้นๆ  ตรงต่อความต้องการของประชาชนหรือไม่และเป็นไปตามอำนาจหน้าที่หรือไม่ ประชาชนพึงพอใจหรือไม่ สิ่งของ วัสดุ ครุภัณฑ์ การดำเนินการต่างๆ    มีสภาพหรือลักษณะถูกต้อง คงทน ถาวร สามารถใช้การได้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ซึ่งเป็นไปตามหลักประสิทธิผล (Effectiveness) ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือหน่วยงาน

10

4. แนวทางการพัฒนาและยุทธศาสตร์การพัฒนา วิเคราะห์แนวทางการพัฒนาว่ามีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในมิติต่างๆ จนนำไปสู่การจัดทำโครงการพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้ SWOT Analysis และหลักการบูรณาการ (integration) กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีพื้นที่ติดต่อกัน

10

5. โครงการพัฒนา
5.1 ความชัดเจนของชื่อโครงการ

 

5.2 กำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับโครงการ

 

5.3 จำนวนวัตถุประสงค์มีความเหมาะสมกับโครงการควรประกอบด้วยข้อมูลดังนี้
เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์สนองต่อแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและดำเนินการเพื่อให้การพัฒนาบรรลุตามวิสัยทัศน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดไว้ ชื่อโครงการมีความชัดเจน มุ่งไปเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อ่านแล้วเข้าใจได้ว่าจะพัฒนาอะไรในอนาคต

60
5

มีวัตถุประสงค์ชัดเจน(clear objective) โครงการต้องกำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับความเป็นมาของโครงการ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล วิธีการดำเนินงานต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเป็นไปได้ชัดเจน มีลักษณะเฉพาะเจาะจง

5

การเขียนวัตถุประสงค์ควรต้องคำนึงถึง (1)มีความเป็นไปได้และมีความเฉพาะเจาะจง ในการดำเนินงานตามโครงการ (2) วัดและประเมินผลระดับของความสำเร็จได้ (3) ระบุสิ่งที่ต้องการดำเนินงานอย่างชัดเจนและเฉพาะเจาะจงมากที่สุด และสามารถปฏิบัติได้ (4) เป็นเหตุเป็นผล  สอดคล้องกับความเป็นจริง (5) ส่งผลต่อการบ่งบอกเวลาได้

 

ประเด็นการพิจารณา

รายละเอียดหลักเกณฑ์

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

5.4 เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) มีความชัดเจนนำไปสู่การตั้งงบประมาณได้ถูกต้อง

 

5.5 เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) มีความสอดคล้อง ต่อเนื่องกับระยะเวลาปี (3 ปี)
5.6 งบประมาณ มีความสอดคล้องกับเป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ)

5.7 มีการประมาณการราคาถูกต้องตามหลักวิธีการงบประมาณ
5.8 มีงบประมาณที่ผ่านมา 3 ปีย้อนหลัง ตามความเป็นจริง

5.9 โครงการแต่ละโครงการครอบคลุมระยะเวลา 3 ปี ทุกโครงการ
5.10 มีการกำหนดตัวชี้วัด (KPI) และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และผลที่คาดว่าจะได้รับ
5.11 ตัวชี้วัด (KPI) วัดได้ถูกต้องตามหลักของการจัดทำโครงการ
5.12 ผลที่คาดว่าจะได้รับ สอดคล้องกับโครงการ

สภาพที่อยากให้เกิดขึ้นในอนาคตเป็นทิศทางที่ต้องไปให้ถึงเป้าหมายต้องชัดเจน  สามารถระบุจำนวนเท่าไร  กลุ่มเป้าหมายคืออะไร มีผลผลิตอย่างไร กลุ่มเป้าหมาย  พื้นที่ดำเนินงาน และระยะเวลาดำเนินงานอธิบายให้ชัดเจนว่าโครงการนี้จะทำที่ไหน  เริ่มต้นในช่วงเวลาใดและจบลงเมื่อไร  ใครคือกลุ่มเป้าหมายของโครงการ หากกลุ่มเป้าหมายมีหลายกลุ่ม ให้บอกชัดลงไปว่าใครคือกลุ่มเป้าหมายหลัก ใครคือกลุ่มเป้าหมายรอง

5

การกำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นดำเนินการต่อเนื่องสามปี เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งเชิงปริมาณ (Quantity) เชิงคุณภาพ (Quality) ค่าใช้จ่าย (Cost) เวลา (Time)

3

งบประมาณโครงการพัฒนาจะต้องคำนึงถึงหลักสำคัญ5ประการในการจัดทำโครงการได้แก่1) ความประหยัด (Economy) 2) ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) 3) ความมีประสิทธิผล (Effectiveness) 4) ความยุติธรรม (Equity) และ 5) ความโปร่งใส (Transparency)

4

การประมาณการาคาเพื่อการพัฒนาต้องให้สอดคล้องกับโครงการถูกต้องตามหลักวิชาการทางช่าง หลักของราคากลาง ราคากลางท้องถิ่น มีความโปร่งใสในการกำหนดราคาและตรวจสอบได้ในเชิงประจักษ์

5

ต้องแสดงงบประมาณเพื่อการพัฒนา 3 ปีย้อนหลังตามหลักความเป็นจริง กรณีมี 2 ปี ก็ให้แสดง 2 ปี กรณีมี 1 ปี ก็ให้แสดง 1 ปี โครงการดังกล่าวเป็นโครงการเดียวกันกับโครงการที่ตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาในอนาคตที่กำหนดระยะเวลาไว้ 3 ปี

3

โครงการพัฒนาที่ได้จัดทำไว้มีระยะเวลาและครอบคลุมทั้ง 3 ปี ทุกโครงการ

 

5

มีการกำหนดดัชนีชี้วัดผลงาน (Key Performance Indicator : KPI) ที่ สามารถวัดได้ (measurable) ใช้บอกประสิทธิผล (effectiveness) ใช้บอกประสิทธิภาพ(efficiency) ได้

5

ตัวชี้วัด (KPI) ที่กำหนดที่เกิดจากวัตถุประสงค์และผลที่คาดว่าจะได้รับ กำหนดการวัดอันเป็นเครื่องมือว่าโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ อาจเป็นร้อยละ จำนวน เป็นต้น

4

ผลที่คาดว่าจะได้รับที่เกิดขึ้นจากวัตถุประสงค์ที่ตอบผลว่าดำเนินการได้ตามโครงการ ผลเกิดขึ้นตามชื่อของโครงการที่ได้ตั้งไว้

5

ประเด็นการพิจารณา

รายละเอียดหลักเกณฑ์

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

5.13 ผลที่คาดว่าจะได้รับ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
๕.14 หน่วยงานรับผิดชอบหลักสอดคล้องกับ แบบ ยท. 03 และ แบบ ยท. 04
ผลที่ได้รับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริงจากการดำเนินการตามโครงการพัฒนา ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การได้ผลหรือผลที่เกิดขึ้นจะต้องเท่ากับวัตถุประสงค์หรือมากกว่าวัตถุประสงค์

5

หน่วยงานรับผิดชอบหลักใน แบบ ยท. 03 แบบ ยท. 04 และ แบบ                ผ. 01 จะต้องถูกต้อง ตรงกัน ทุกยุทธศาสตร์ แนวทางการพัฒนา โครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3

รวมคะแนน

100