”เทศบาลตำบลบางจะเกร็งร่วมใจ สวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์”

0
3
Spread the love

อย่าลืม‼️ สวมหมวกกันน็อคกันด้วยนะคะ ทั้งผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้าย เพื่อลดความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศรีษะกรณีเกิดอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการบาดเจ็บและเสียชีวิต และสร้างการรับรู้ความมีวินัยและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประชาชนในการปฏิบัติตามกฎจราจร

ด้วยความปรารถนาดี จากเทศบาลตำบลน้ำจืด ร่วมรณรงค์ “สวมหมวกนิรภัย 100% ทั้งผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้าย” ตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการเดินทางด้วยรถมอเตอร์ไซค์ทุกครั้ง จะต้องสวมหมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อกตามที่กฏหมายกำหนดเพื่อความปลอดภัย แต่การไม่สวมใส่หมวกนิรภัยก็ยังคงมีให้เห็นทั่วไป โดยเฉพาะการขับขี่ในระยะใกล้หรือแม้แต่การโดยสารมอเตอร์ไซค์รับจ้างในบางครั้ง ซึ่งหากเจ้าหน้าที่เรียกตรวจแน่นอนว่าเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเสียค่าปรับ ส่วนจะเป็นเท่าไรนั้น กฏหมายได้กำหนดไว้ ดังนี้

ไม่สวมหมวกนิรภัยผิดมาตราไหน

สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 122 ได้มีการระบุไว้ว่า

  • ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถมอเตอร์ไซค์จะต้องสวมหมวกกันนิรภัย (หมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์)
  • ห้ามไม่ให้ผู้ขับขี่ ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ขณะที่ผู้โดยสารไม่ได้สวมหมวกนิรภัย
  • ลักษณะและวิธีการใช้หมวกนิรภัย ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 

ยกเว้น ภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช หรือผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่นที่ใช้ผ้าหรือสิ่งอื่นโพกศีรษะตามประเพณีนิยมนั้น หรือบุคคลใดที่กำหนดในกฎกระทรวง

ไม่สวมหมวกนิรภัย มีโทษปรับเท่าใด

ในส่วนของค่าปรับกรณีขับขี่หรือโดยสารรถมอเตอร์ไซค์โดยไม่สวมหมวกนิรภัยตามประกาศล่าสุดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 พ.ศ.2563 มีรายละเอียด ดังนี้

  • ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์โดยไม่สวมหมวกนิรภัย ปรับ 400 บาท (มาตรา 122 วรรคหนึ่ง, มาตรา 148) 
  • ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ขณะที่ผู้โดยสารไม่ได้สวมหมวกนิรภัย ปรับ 800 บาท (มาตรา 122 วรรคสอง, มาตรา 148)

นอกจากนี้ กรณีผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารสวมหมวกที่ไม่เป็นไปตามกฎกระทรวง หรือใช้หมวกนิรภัยไม่เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงก็มีโทษปรับ 400 บาท (มาตรา 122 วรรคสาม, มาตรา 148)

การเลือกหมวกกันน็อกหรือหมวกนิรภัยที่เหมาะสม

ทั้งนี้ ผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารมอเตอร์ไซค์ ควรเลือกหมวกกันน็อกแบบเต็มใบที่โอบอุ้มศีรษะได้ทุกด้าน ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และควรมีขนาดกระชับพอดีกับศีรษะ มีสายรัดคางที่มั่นคงแข็งแรง สามารถรัดหมวกนิรภัยให้แนบติดกับศีรษะไม่หลุดออกยามเกิดอุบัติเหตุ

รวมถึงหมวกนิรภัยไม่ควรมีน้ำหนักมากจนเกินไป สามารถระบายอากาศได้และมีช่องฟังเสียงเพื่อฟังเสียงการจราจรโดยรอบในขณะขับขี่ได้ ส่วนหน้ากากกันลมด้านหน้า ควรเป็นวัสดุโปร่งแสงเพื่อทัศนวิสัยในการมองชัดเจน

อย่างไรก็ตาม ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถมอเตอร์ไซค์ควรต้องสวมหมวกนิรภัยและรัดสายที่คางให้พอดีกับศีรษะทุกครั้งที่ต้องเดินทาง ควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน และต้องมีสติไม่ประมาททุกครั้งที่ขับขี่เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่อยู่เสมอ

ขอบคุณข้อมูลจาก : ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ทิ้งคำตอบไว้